การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเจรจาต่อรอง รวมทั้งปัญหาและ อุปสรรคของการเจรจาต่อรองของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ ประชากรเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยจำนวน 8 คนและพยาบาลประจำการจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การเจรจาต่อรองของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการที่สร้างขึ้น ตามแนวคิดของเรค และลอง (Reck & long, n.d., แปลโดย จารุประภา, 2542) และแบบ สัมภาษณ์ปัญหาและอุปสรรคในการเจรจาต่อรอง ซึ่งได้นำไปตรวจสอบหาความตรงตามเนื้อหา และหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา ได้ค่าความตรงกันของผู้ทรงคุณวุฒิเท่ากับ 0.90 และค่าดัชนี ความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.90 และหาความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์หัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาล ประจำการ ได้ค่าแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.94 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยการเจรจาต่อรองของหัวหน้าหอผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับ มาก (µ = 3.59, s= 0.88) เมื่อพิจารณาแต่ละขั้นตอนพบว่า ค่าเฉลี่ยการเจรจาต่อรองขั้นตอนการ สร้างสัมพันธภาพประสานประโยชน์ การสร้างข้อตกลงประสานประโยชน์ และการบำรุงรักษาการประสานประโยชน์อยู่ในระดับสูง (µ 4.00, 3.55 และ 3.91 s= 0.87, 0.69 และ 0.87 ตามลำดับ) ส่วนค่าเฉลี่ยขั้นตอนการวางแผนประสานประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง (µ 3.21, s= 0.75) ปัญหาและอุปสรรคในการเจรจาต่อรองของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่พบมากที่สุดคือ การยึดจุดยืนของตนเองและทั้งสองฝ่ายไม่สามารถควบคุมอารมณ์
ส่วนพยาบาลประจำการพบว่ามีระดับการเจรจาต่อรองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ 3.33, = 0.87) และทุกขั้นตอนอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด ปัญหาและอุปสรรคในการเจรจาต่อรองของพยาบาลประจำการที่พบมากที่สุดคือ การใช้เวลาในการเจรจาต่อรองไม่เหมาะสม และการที่รู้สึกว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยมีอำนาจเหนือกว่า
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปสู่การพิจารณาในการเสริมสร้างทักษะในการเจรจาต่อรองของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
The purposes of this study were to study level of negotiation among head nurses and staff nurses in Kasemraj Sriburin Hospital, and to study problems and barriers regarding negotiation. The populations were 8 head nurses and 18 staff nurses. The instrument was a set of interview questionnaire developed by the researcher consisted of 3 parts: the demographic data form, the Negotiation of Head Nurses Scales (NHNS) and the Negotiation of Staff Nurses Scale (NSNS) using framework of Reck & Long (n.d, Jaruprapa trans, 1999), and the Problem and Barrier regarding Negotiation Checklist (PBNC). The interrater agreement of the instrument was 0.90 and the content validity index (CVI) was 0.90. The Cronbach's alpha coefficient of the NHNS and the NSNS were 0.94 and 0.91 respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. The result of the study indicated that the total mean score of negotiation of head nurses was at a high level (µ =3.59, s = 0.88). When considered by sub-scale, the mean scores of three subscales ะ win - win relationships, win - win agreements and win - win maintenance were at high levels (µ = 4.00, 3.55 and 3.91 ; s = 0.87, 0.69 and 0.87 respectively). The mean score of planning was at a moderate level
(µ =3.21, s = 0.75). The most frequent problems and barriers regarding negotiation of head nurses were being self-centered and both parties cannot emotion
It was also found that the total mean score of negotiation of staff nurses was at a moderate level (µ =3.33, s = 0.87). and mean score of each subscale of negotiation among staff nurses were at moderate levels. The most frequent problems and barriers regarding negotiation of staff nurses were inappropriate time and feeling that head nurses were more powerful.
The result of the study should be taken into consideration in enhancing skills in negotiation among head nurses and staff nurses in order that they would be able to work better.
|