รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 3000
ผู้กรอกข้อมูล บุญพิชชา จิตต์ภักดี
วันที่กรอกข้อมูล 18/3/2553
ชื่อเรื่องไทย การบริหารเวลาของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข
ชื่อเรื่องอังกฤษ TIME MANAGEMENT OF NURSING DIRECTORS IN COMMUNITY HOSPITALS OF THE MINISTRY OF PUBLIC HEALTH
ชื่อผู้วิจัยหลัก นิศาชล สิงหศิริ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
เรณา พงษ์เรืองพันธุ์
ภรณี พวงแก้ว
สังกัด มหาวิทยาลัยบูรพา
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยบูรพา 
   
ปี 2542
บทคัดย่อ

สาขาวิชา : การบริหารการพยาบาล ; พย.ม. (พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต) คำสำคัญ : การบริหารเวลา / หัวหน้าพยาบาล / โรงพยาบาลชุมชน นิศาชล สิงหศิริ : การบริหารเวลาของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข (TIME MANAGEMENT OF NURSING DIRECTORS IN COMMUNITY HOSPITALS OF THE MINISTRY OF PUBLIC HEALTH) อ.ที่ปรึกษา : เรณา พงษ์เรืองพันธุ์, วทบ., คม., Ph.D., ภรณี พวงแก้ว ค.ม. 116 หน้า. ISBN 974-574-010-1

การวิจัยครังนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ การใช้เวลาเชิงปริมาณ ลารจัดการกับเวลาในบทบาทของหัวหน้าพยาบาลด้านบริหาร ด้านบริการ ด้านวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข ที่มีขนาดโรงพยาบาลแตกต่างกัน และมีประสบการณ์ในตำแหน่งแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ จำนวน 248 ท่าน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มแบบสองชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบค่าอำนาจจำแนกและวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่าง โดย t –test , One Way ANOVA และทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least – Significant Difference) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ปริมาณเวลาที่หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมภายใน 1 สัปดาห์ ในบทบาทด้านบริหาร : ด้านบริการ : ด้านวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพ มีอัตราส่วนเท่ากับ 47 : 32 : 21 หัวหน้าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาลที่มีขนาดแตกต่างกัน ใช้ปริมาณเวลาในการปฏิบัติงานตามบทบาท ด้านบริหาร ด้านบริการ ไม่แตกต่างกัน ส่วนบทบาทด้านวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพ แตกต่างกัน โดยหัวหน้าพยาบาลที่ปฏิบัตงานในโรงพยาบาลลชุมชนขนาดเล็ก ใช้ปริมาณเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หัวหน้าพยาบาลที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งแตกต่างกัน ใช้ปริมาณเวลาในการปฏิบัติงานตามบทบาททั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน การจัดการกับเวลาของหัวหน้าพยาบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “เหมาะสมมาก” และเมื่อพิจารณารายกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมคือการจัดลำดับความสำคัญของงาน การวางแผนการใช้เวลา การมองหมายงาน การจัดระบบงาน การประเมินผล การใช้เวลา การปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับ “เหมาะสมมาก” ส่วนการควบคุมการใช้เวลาการปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับ “เหมาะสมปานกลาง” การจัดการกับเวลาของหัวหน้าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่มีขนาดแตกต่างกัน มีการจัดการกับเวลาในภาพรวมและรายกิจกรรม ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น การจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง มีการปฏิบัติกิจกรรมด้านการจัดลำดับความสำคัญของงานสูงกว่าโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนหัวหน้าพยาบาลที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งแตกต่างกัน มีการจัดการกับเวลา ในภาพรวมและรายกิจกรรม ไม่แตกต่างกัน

URL
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ การใช้เวลาเชิงปริมาณ ลารจัดการกับเวลาในบทบาทของหัวหน้าพยาบาลด้านบริหาร ด้านบริการ ด้านวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข

   
ประชากร  
ไม่พบข้อมูล
   
สถานที่ทำวิจัย
ไม่พบข้อมูล
   
รูปแบบการวิจัย
รูปแบบงานวิจัย
แบบพรรณนา / แบบสำรวจ (เปรียบเทียบ)
   
วิธีการจัดกระทำ
ไม่มีวิธีการจัดกระทำ
   
เครื่องมือวิจัย  
ชนิดเครื่องมือที่มาของเครื่องมือค่าความตรงค่าความตรงของเครื่องมือวิจัยค่าความเที่ยงของเครื่องมือวิจัยต้นแบบค่าตัวชี้วัดคุณภาพ
แบบสอบถามพัฒนาขึ้นมาเอง    
จำนวนเครื่องมือวิจัยที่ใช้ 1 เครื่องมือ
   
ผ่าน IRB ไม่ระบุ
การขออนุญาตจากสังกัดของตัวอย่าง ไม่ระบุ
การขออนุญาตจากตัวอย่าง ได้ทำ
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
   
วิธีการเก็บข้อมูล
วิธีการจัดเก็บข้อมูลอื่นๆโปรดระบุ
การใช้แบบสอบถาม / การให้กลุ่มตัวอย่างตอบเอง (แบบสอบถาม, แบบประเมิน, แบบวัด) 
   
สถิติที่ใช้
สถิติที่ใช้อื่นๆโปรดระบุ
สถิติบรรยาย 
t-test 
ANOVA 
   
ผลการศึกษา

1.  ปริมาณเวลาที่หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมภายใน 1 สัปดาห์  ในบทบาทด้านบริหาร : ด้านบริการ : ด้านวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพ  มีอัตราส่วนเท่ากับ 47 : 32 : 21

2.  หัวหน้าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาลที่มีขนาดแตกต่างกัน ใช้ปริมาณเวลาในการปฏิบัติงานตามบทบาท ด้านบริหาร ด้านบริการ ไม่แตกต่างกัน ส่วนบทบาทด้านวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพ แตกต่างกัน โดยหัวหน้าพยาบาลที่ปฏิบัตงานในโรงพยาบาลลชุมชนขนาดเล็ก ใช้ปริมาณเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

3.  หัวหน้าพยาบาลที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งแตกต่างกัน ใช้ปริมาณเวลาในการปฏิบัติงานตามบทบาททั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน การจัดการกับเวลาของหัวหน้าพยาบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “เหมาะสมมาก” และเมื่อพิจารณารายกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมคือการจัดลำดับความสำคัญของงาน การวางแผนการใช้เวลา การมองหมายงาน การจัดระบบงาน การประเมินผล การใช้เวลา การปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับ

“เหมาะสมมาก” ส่วนการควบคุมการใช้เวลาการปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับ “เหมาะสมปานกลาง” การจัดการกับเวลาของหัวหน้าพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่มีขนาดแตกต่างกัน มีการจัดการกับเวลาในภาพรวมและรายกิจกรรม ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น การจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง มีการปฏิบัติกิจกรรมด้านการจัดลำดับความสำคัญของงานสูงกว่าโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนหัวหน้าพยาบาลที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งแตกต่างกัน มีการจัดการกับเวลา ในภาพรวมและรายกิจกรรม ไม่แตกต่างกัน

ข้อจำกัดในวิจัย
ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติการพยาบาล
ข้อเสนอแนะในการบริหารการพยาบาล
ข้อเสนอแนะในด้านการวิจัย
ข้อเสนอแนะในด้านการศึกษา
ข้อเสนอแนะในด้านอื่นๆ / ทั่วไป
คำสำคัญ
   
Theme งานวิจัย  
ไม่พบข้อมูลธีม
   
Sig  
ไม่พบข้อมูล
   
 
    พิมพ์หน้านี้