รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 7000
ผู้กรอกข้อมูล ประณีตศิลป์
วันที่กรอกข้อมูล 25/3/2553
ชื่อเรื่องไทย การเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอังกฤษ Involvement in Hospital Accreditation Among Professional Nurses Community Hospital Sukhothai Province
ชื่อผู้วิจัยหลัก สุเมธ ชำนิ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์
เรมวล นันทศุภวัฒน์
สุพิศ รุ่งเรืองศรี
สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2546
บทคัดย่อ

             การเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ตามระบบมาตรฐานสากลของประเทศไทยด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐ 10 ขั้นตอน มีส่วนสำคัญต่อการประสบผลสำเร็จของการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 1 ปี และไม่อยู่ในระหว่างการลาศึกษาต่อ จำนวน 139 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลที่มีผู้ศึกษาสร้างขึ้น  ตามกรอบแนวคิดของเรลลี่ (Reilly, 1979) และแบบสอบถามปัญหาและอุปสรรคการเข้าร่วมกิจกรรมตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.81 และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีการทดสอบซ้ำ (lest-retest method) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อันดับของ สเปียร์แมน (Spearman Rank Correlation Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.92 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยาย

         ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า

         1.  ลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัยโดยรวม มีลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นแบบที่ 5 บุคลากรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้บริหารมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 36.69 เมื่อพิจารณาลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน  พบว่าพยาบาลมีลักษณะการเข้าร่วมในขั้นตอนที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, และ 10 เป็นแบบที่ 5 และในขั้นตอนที่ 9 พยาบาลมีลักษณะการเข้าร่วมเป็นแบบที่ 2  บุคลากรได้รับทราบข้อมูลเมื่อผู้บริหารแจ้งให้ทราบมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 28.77

         2.  ลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัย โดยรวมมีลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลเป็นแบบที่ 5 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เ มื่อพิจารณาลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนพบว่า  พยาบาลวิชาชีพทั้ง 2 ระดับมีลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมในขั้นตอนที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ 10 และแบบที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 26.67 พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการมีลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นแบบที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 29.36

         3.  ปัญหาและอุปสรรคของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัยพบว่า มีไม่มาก   ปัญหาที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ การที่บุคลากรขาดความรู้ในกระบวนการดำเนินงานตามระบบมาตรฐาน P.S.O. การมีภาระงานมาก และเวลาที่ปฏิบัติงานไม่ตรงกัน ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้

           ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและวางแผนให้พยาบาลมีส่วนเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลให้มากยิ่งขึ้นและต่อเนื่องตลอดจนแก้ปัญหาอุปสรรคในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งจะนำไปสู่การได้รับการรับรองคุณภาพของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัยต่อไป

           

         Nurses’ Involvement in activities of all 10 steps of the process concerning Thailand International Public Sector Management System and Outcomes (P.S.O.) is very important for the success of being accredited of the hospital.  This study aimed to determine types of involvement in Hospital Accreditation activities among profession nurses of Community Hospitals Sukhothai Province.  The sample were 139 registered nurses who had more than one year work experiences and were not leave for their education.  The data were collected using a questionnaire developed by the investigator consisted of 3 parts: personal data, types of involvement in 10 step of the P.S.O. process according to Reilly (1979), and problems and barriers of involvement. The content validity was assured by means of three experts with the content validity index of 0.81. Reliability tested by test-retest method using Spearman Rank Correlation Coefficient was0.92.  The Data were analyzed by sing descriptive statistics

              The results of this study were:

            1.  The most common type of the subjects’ involvement in a activities of ten steps of the P.S.O. process was type 5: employees jointly make decision with management.  When examining the individual step, it was found that the subjects demonstrated type 5 of involvement in step 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 and 10.  In step 9 the most common type of involvement was type 2: employees informed of decision once taken.

            2.  When separately examining the type of involvement among the nurses with administrative position and the staff nurses. There were not significantly difference (P> 0.05).  Subjects in both groups demonstrated type 5 of involvement: employees jointly make decision with management.  When examining the individual step of process, it was found that the subjects demonstrate type 5 of involvement in step 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 and 10. However, of the nurses with administrative position demonstrated type 2 and type 5 of involvement in step 9 and the staff nurses demonstrated type 5 of involvement.

3. The problems and barriers of nurses’ involvement in activities concerning Hospital Accreditation process were not many.  The top three problems and barriers were the nursing personnel had insufficient knowledge regarding the process of P.S.O., high workload within their unit, and different working time.

The results of this study could be used for encouraging nurses involvement in the P.S.O. process which will lead to the accreditation of Community Hospitals Sukhothai Province in the future.

URL
วัตถุประสงค์

 

1. เพื่อศึกษาลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาล ชุมชน จังหวัดสุโขทัย
2. เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพระดับบริหารและระดับ ปฏิบัติการโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัย

3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัย

   
ประชากร  
ประชากรขนาดประชากรกลุ่มตัวอย่างรายละเอียดขนาดกลุ่มตัวอย่างข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์การกำหนดขนาดตัวอย่างการเลือกตัวอย่างการเลือกตัวอย่างอื่นๆตัวอย่างที่สูญหายศึกษาประชากรไม่ระบุขนาดประชากรไม่ระบุกลุ่มตัวอย่าง
พยาบาลวิชาชีพ171พยาบาลประจำการ/พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน 139139ไม่ระบุPurposive/ Judgmental Sampling 0
   
สถานที่ทำวิจัย
ประเภทสถานที่ทำวิจัยสถานที่ทำวิจัย
โรงพยาบาลชุมชน โปรดระบุจังหวัดสุโขทัย
   
รูปแบบการวิจัย
รูปแบบงานวิจัย
แบบพรรณนา / แบบสำรวจ (บรรยาย)
   
วิธีการจัดกระทำ
ไม่มีวิธีการจัดกระทำ
   
เครื่องมือวิจัย  
ชนิดเครื่องมือที่มาของเครื่องมือค่าความตรงค่าความตรงของเครื่องมือวิจัยค่าความเที่ยงของเครื่องมือวิจัยต้นแบบค่าตัวชี้วัดคุณภาพ
แบบสอบถามพัฒนาขึ้นมาเอง--0.81-
แบบสอบถามพัฒนาขึ้นมาเอง    
จำนวนเครื่องมือวิจัยที่ใช้ 2 เครื่องมือ
   
ผ่าน IRB ได้ทำ
การขออนุญาตจากสังกัดของตัวอย่าง ได้ทำ
การขออนุญาตจากตัวอย่าง ไม่ระบุ
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 1 เดือน
   
วิธีการเก็บข้อมูล
วิธีการจัดเก็บข้อมูลอื่นๆโปรดระบุ
การใช้แบบสอบถาม / การให้กลุ่มตัวอย่างตอบเอง (แบบสอบถาม, แบบประเมิน, แบบวัด) 
   
สถิติที่ใช้
สถิติที่ใช้อื่นๆโปรดระบุ
สถิติบรรยาย 
   
ผลการศึกษา

ผลการศึกษา

1.   ข้อมูลส่วนบุคคลพบว่าพยาบาลส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.12 ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 98.56 การศึกษาอยูระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 96.40  มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานอยู่ในช่วยื 1-5 ปี ร้อยละ 35.97 ปฏิบัติงานเป็นพยาบาลระดับบริหาร ร้อยละ 21.58 และพยาบาลระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 78.42  ส่วนมากปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสวรรคโลก ร้อยละ 47.48 เข้าร่วมทีม/กิจกรรมเทคนิค 5ส. มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 86.33

2.  ลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาล

วิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัยโดยรวม  พยาบาลมีลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลในแบบที่ 5 บุคลากรที่ส่วนร่วมตัดสิใจในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้บริหารร้อยละ 36.69 และเมื่อพิจารณาลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนพบว่า พยาบาลมีลักษณะการเข้าร่วมใน ขั้นตอนที่ 1,2,3,4,5,6,7,8 และ 10 ในแบบที่ 5 บุคลากรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้บริหารและในขั้นตอนที่ 9 พยาบาลมีลักษณะการเข้าร่วมในแบบที่ 2 บุคลากรได้รับทราบข้อมูลเมื่อผู้บริหารแจ้งให้ทราบ ร้อยละ 28.77

3.     ลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของพยาบาล

วิชาชีพระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัย โดยรวมมีลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมการการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลเป็นแบบที่ 5 บุคลากรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้บริหารไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และในการพิจารณาลักษณะการเข้าร่วมในแต่ละขั้นตอนพบว่า พยาบาลทั้ง 2 ระดับมีลักษณะการเข้าร่วมในขั้นตอนที่ 1,2,3,4,5,6,7,8 และ 10 ในแบบที่ 5 บุคลากรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้บริหาร ในขั้นตอนที่ 9 พยาบาลระดับบริหารมีลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมในแบบที่ 2 และแบบที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 26.67 เท่ากัน ส่วนพยาบาลระดับปฏิบัติการมีลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมในแบบที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 29.36

                4.  ปัญหาและอุปสรรคของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัยพบว่ามีไม่มาก ปัญหาที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การที่บุคลากรขาดความรู้ในกระบวนการดำเนินงานตามระบบมาตรฐาน P.S.O การมีภาระงานมากและเวลาที่ปฏิบัติงานไม่ตรงกัน ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้

ข้อจำกัดในวิจัย ไม่ระบุ
ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติการพยาบาล ไม่ระบุ
ข้อเสนอแนะในการบริหารการพยาบาล

ข้อเสนอแนะในการบริหารการพยาบาล

1.   นำข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมของพยาบาลเสนอต่อผู้บริหารในโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 4 แห่งรับทราบเพื่อใช้ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาล  และดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินการ

2.  ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมของพยาบาลไปใช้เป็นแนวทาง

ในการปรับการบริหารจัดการเกี่ยวกับรูปแบบ/ลักษระการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรทางการพยาบาลให้เหมาะสมกับลักษณะของการดำเนินกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนโดยการกระตุ้นหรือจัดรูปแบบการบริหารงานการดำเนินกิจกรรมที่ให้พยาบาลสามารถตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมได้ด้วยตนเอง หรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้พยาบาลมีการเข้าร่วมกิจกรรมได้มากขึ้น เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลบรรลุตามเป้าหมาย

3.             พัฒนาความรู้ความเข้าใจและเพิ่มประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาและ

รับรองคุณภาพ ให้กับแกนนำในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการเพื่อให้สามารถที่จะดำเนินกิจกรรมได้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักมาตรฐาน P.S.O. และสามารถให้คำแนะนำบุคลากรได้เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

                4.  จัดรูปแบบการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพหลาย ๆ รูปแบบเพื่อให้พยาบาลที่มีภาระงานมากหรือปฏิบัติงานในช่วงนอกเวลาสามารถร่วมกิจกรรมหรือร่วมแสดงความคิดเห็นได้ เช่น การทำหนังสือเวียนแสดงความคิดเห็นในกิจกรรมต่าง ๆ การจัดกิจกรรมพัฒนาเฉพาะกลุ่มที่ปฏิบัติงานนอกเวลา เป็นต้น

                5. จัดระบบการทดแทนงานกันในแต่ละหน่วยงานเพื่อให้พยาบาลในหน่วยงานสามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ในกรณีที่พยาบาลอีกหน่วยหนึ่งมีความจำเป็นต้องเข้าร่วมกิจกรรมแต่มีภาระงานมากไม่สามารถไปเข้าร่วมกิจกรรมได้ เป็นการหมุนเวียนกันทำงานเพื่อให้พยาบาลสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทั่วถึงทุกคน

ข้อเสนอแนะในด้านการวิจัย

 

ข้อเสนอแนะในด้านการวิจัย
1.             ศึกษาลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของพยาบาล
โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัย ที่ผ่านการตรวจรับรองแล้ว เปรียบเทียบกับลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัย ที่ยังไม่ผ่านการตรวจรับรอง เพื่อนำมาพิจารณาส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลได้เหมาะสม และเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพในแต่ละขั้นตอนให้มากที่สุด
                2.   ศึกษาลักษณะของการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของบุคลากรทุกระดับในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสุโขทัย เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรทุกระดับ
ข้อเสนอแนะในด้านการศึกษา

 

ข้อเสนอแนะในด้านอื่นๆ / ทั่วไป ไม่ระบุ
คำสำคัญ
   
Theme งานวิจัย  
ธีมหลักธีมย่อยชื่อแนวคิดไทยชื่อเจ้าของปี
Quality managementTQM (การจัดการคุณภาพทั้งองค์กร)การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลReilly1979
   
Sig  
ไม่พบข้อมูล
   
 
    พิมพ์หน้านี้