รายละเอียดข้อมูลวิจัย
|
ลำดับที่
|
1203
|
ผู้กรอกข้อมูล
|
|
วันที่กรอกข้อมูล
|
4/8/2553
|
ชื่อเรื่องไทย
|
คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
|
ชื่อเรื่องอังกฤษ
|
( QUALITY OF WORKING LIFE OF PROFESIONAL NURSES IN HOSPITALS OF THREE SOUTHERN BORDER PROVINCES, THAILAND
|
ชื่อผู้วิจัยหลัก
|
จินตนา นาคพิน
|
|
|
ชื่อผู้วิจัยร่วม
|
ผู้ร่วมวิจัย |
สุวิณี วิวัฒน์วานิช |
|
สังกัด
|
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|
|
|
แหล่งทุน
|
|
|
|
ประเภทของผลงาน
|
วิทยานิพนธ์
|
แหล่งที่เก็บ
|
แหล่งที่เก็บข้อมูล | โปรดระบุ(ชื่อ) |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | |
|
|
|
ปี
|
2552
|
บทคัดย่อ
|
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ โรงพยาบาลที่ปฏิบัติงาน อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ศาสนา สถานที่ตั้งของภูมิลำเนาเดิมและสถานที่ทำงานในปัจจุบันและจังหวัดที่ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 335 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการบูรณาการแนวคิดคุณภาพชีวิตการทำงานของ Walton (1974) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ด้าน คือ 1) สภาพการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ 2) ค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม 3) โอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล 4) โอกาสในความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน 5) การบูรณาการทางสังคม 6) สิทธิส่วนบุคคล 7) งานกับช่วงเวลาของชีวิตโดยรวม 8) ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่านได้ค่าความตรงเท่ากับ .93 และทดสอบความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ( t – test ) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One way ANOVA)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.55, SD = .28) โดยมีคุณภาพชีวิตการทำงานด้านความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.17, SD = .30) และด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ( = 2.93 , SD = .59) สำหรับข้อที่พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้สูงสุดคือการที่พยาบาลมีความรู้สึกภูมิใจในอาชีพพยาบาลว่าสามารถช่วยเหลือประชาชนและทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ( = 4.59 , SD = .53) และข้อที่มีการรับรู้ต่ำสุดคือพยาบาลรับรู้ว่าเงินพื้นที่พิเศษเสี่ยงภัย (สปพ.) ที่ได้รับเหมาะสมและยุติธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับสายงานอื่นที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกัน ( = 1.93, SD = .96)
2.พยาบาลวิชาชีพที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีการรับรู้คุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน
|
URL
|
|
วัตถุประสงค์
|
เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ โรงพยาบาลที่ปฏิบัติงาน อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ศาสนา สถานที่ตั้งของภูมิลำเนาเดิมและสถานที่ทำงานในปัจจุบันและจังหวัดที่ปฏิบัติงาน
|
|
|
ประชากร
|
|
|
|
|
สถานที่ทำวิจัย
|
ประเภทสถานที่ทำวิจัย | สถานที่ทำวิจัย |
โรงพยาบาลทั่วไป โปรดระบุ | |
|
|
|
รูปแบบการวิจัย
|
รูปแบบงานวิจัย |
แบบพรรณนา / แบบสำรวจ (บรรยาย) |
แบบพรรณนา / แบบสำรวจ (เปรียบเทียบ) |
|
|
|
วิธีการจัดกระทำ
|
|
|
|
เครื่องมือวิจัย
|
|
ชนิดเครื่องมือ | ที่มาของเครื่องมือ | ค่าความตรง | ค่าความตรงของเครื่องมือวิจัย | ค่าความเที่ยงของเครื่องมือวิจัยต้นแบบ | ค่าตัวชี้วัดคุณภาพ |
แบบสอบถาม | พัฒนาขึ้นมาเอง | | | ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่านได้ค่าความตรงเท่ากับ .93 | |
|
จำนวนเครื่องมือวิจัยที่ใช้
|
1 เครื่องมือ
|
|
|
ผ่าน IRB
|
ไม่ระบุ
|
การขออนุญาตจากสังกัดของตัวอย่าง
|
ไม่ระบุ
|
การขออนุญาตจากตัวอย่าง
|
ไม่ระบุ
|
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
|
|
|
|
วิธีการเก็บข้อมูล
|
วิธีการจัดเก็บข้อมูล | อื่นๆโปรดระบุ |
การใช้แบบสอบถาม / การให้กลุ่มตัวอย่างตอบเอง (แบบสอบถาม, แบบประเมิน, แบบวัด) | |
|
|
|
สถิติที่ใช้
|
สถิติที่ใช้ | อื่นๆโปรดระบุ |
ANOVA | |
t-test | |
|
|
|
ผลการศึกษา
|
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.55, SD = .28) โดยมีคุณภาพชีวิตการทำงานด้านความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.17, SD = .30) และด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ( = 2.93 , SD = .59) สำหรับข้อที่พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้สูงสุดคือการที่พยาบาลมีความรู้สึกภูมิใจในอาชีพพยาบาลว่าสามารถช่วยเหลือประชาชนและทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ( = 4.59 , SD = .53) และข้อที่มีการรับรู้ต่ำสุดคือพยาบาลรับรู้ว่าเงินพื้นที่พิเศษเสี่ยงภัย (สปพ.) ที่ได้รับเหมาะสมและยุติธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับสายงานอื่นที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกัน ( = 1.93, SD = .96)
2.พยาบาลวิชาชีพที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีการรับรู้คุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน
|
ข้อจำกัดในวิจัย
|
|
ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติการพยาบาล
|
|
ข้อเสนอแนะในการบริหารการพยาบาล
|
|
ข้อเสนอแนะในด้านการวิจัย
|
|
ข้อเสนอแนะในด้านการศึกษา
|
|
ข้อเสนอแนะในด้านอื่นๆ / ทั่วไป
|
|
คำสำคัญ
|
|
|
|
Theme งานวิจัย
|
|
ธีมหลัก | ธีมย่อย | ชื่อแนวคิดไทย | ชื่อเจ้าของ | ปี |
Human Resource Management | Nurse outcomes (ผลลัพธ์ของพยาบาล) | คุณภาพชีวิตการทำงาน | | 0 |
|
|
|
Sig
|
|
|
|
|
|
|
|
พิมพ์หน้านี้
|
|
|
|