รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2270
ผู้กรอกข้อมูล petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 19/8/2553
ชื่อเรื่องไทย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขเขต 6
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก คมคาย พระเอก
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
มนตรี อนันตรักษ์
ประพัทธ์ ชัยเจริญ
สังกัด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
   
ปี 2544
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  (1)  ศึกษาระดับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาล  ในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์  การสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคล  และความรู้สึกไม่ประสบผลสำเร็จ  โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวกับงาน  (2)  ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลและ  (3)  สร้างสมการพยากรณ์ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาล

                กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  พยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาล  โรงพยาบาลชุมชนสาธารณสุขเขต  6  จำนวน  321  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือ  แบบสอบถามจำนวน  1  ฉบับ  แบ่งเป็น  3  ส่วน  คือ  แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล  แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยเกี่ยวกับงาน  และแบบสอบถามวัดความเหนื่อยหน่าย  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย  และการวิเคราะห์   การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

                ผลการวิจัยพบว่า

1.    พยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาล  มีความเหนื่อยหน่ายในการทำงานโดยรวม  อยู่ในระดับปานกลาง  โดยมีความอ่อนล้าทางอารมณ์  อยู่ในระดับปานกลาง  การสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคล  อยู่ในระดับต่ำ  และความรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ  อยู่ในระดับ       ปานกลาง

2.       ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานพยาบาล  มีดังนี้

2.1        ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  ได้แก่  ความเครียดจากลักษณะงาน  และสถานภาพสมรส

2.2        ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  ได้แก่  สัมพันธภาพระหว่างบุคคล  ประสบการณ์ในการทำงาน  อายุ  ระดับรายได้  และภาวะผู้นำของผู้บริหาร

2.3   ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์  ได้แก่  ตำแหน่งและระดับการศึกษา

3.    ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาล  ได้แก่  สัมพันธภาพระหว่างบุคคล  (X8)  ความเครียดจากลักษณะงาน  (X7)  ประสบการณ์ในการทำงาน  (X4)  อายุ  (X2)  สถานภาพสมรส  (X3)  ตัวพยากรณ์ชุดนี้มีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ  55.40  โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบมีดังนี้                                               QUOTE    =  3.219 - .738 X8 + .592 X7 - .197 X4 + .195 X3 + .091 X2

และในรูปคะแนนมาตรฐานมีดังนี้

                 QUOTE    =  - .4372 Z8 + .3217 Z7 - .2117 Z4 + .166 Z3 + .083 Z2

URL
วัตถุประสงค์

(1)  ศึกษาระดับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาล  ในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์  การสูญเสียความสัมพันธ์ส่วนบุคคล  และความรู้สึกไม่ประสบผลสำเร็จ  โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวกับงาน  (2)  ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลและ  (3)  สร้างสมการพยากรณ์ความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาล

 
    พิมพ์หน้านี้