การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจัดการความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วย
ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง ได้แก่
การสื่อสารระหว่างบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจ
และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์
กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ
จำนวน 334 คน จาก 12 โรงพยาบาล โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ
แบบสอบถามความสามารถในการจัดการความขัดแย้งของหัวหน้าหอผู้ป่วยการสื่อสารระหว่างบุคคล
การเสริมสร้างพลังอำนาจ และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์
ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91,
.90 , .94 และ .95
ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพียร์สัน
และการถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น ( hierarchical
Multiple regression)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง
ของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสื่อสารระหว่างบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจ
วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ โดยรวม อยู่ในระดับสูง
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล
การเสริมสร้างพลังอำนาจ และวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง
ของหัวหน้าหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( r = .61, .64 และ .43) ตามลำดับ
3.
การสื่อสารระหว่างบุคคล การเสริมสร้างพลังอำนาจ สามารถร่วมกันพยากรณ์
ความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง ของหัวหน้าหอผู้ป่วยได้ โดยสามารถอธิบายการแปรผันตัวแปรเกณฑ์ได้ถึงร้อยละ
50
และพบว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรเกณฑ์มากที่สุด ( Beta =
.39)
สมการในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน
Ý
(ความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง) = .36 + .31 (การสื่อสารระหว่างบุคคล)
+ .44 (การเสริมสร้างพลังอำนาจ) + .08 (วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์)
ź (ความสามารถในการจัดการความขัดแย้ง) = .36
(การสื่อสารระหว่างบุคคล)
+ .39 (การเสริมสร้างพลังอำนาจ) + .07 (วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์)
|