การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ
จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วยจากการปฏิบัติงาน ยังพบการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย ผู้ศึกษาจึงมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการรับรู้และระดับการปฏิบัติต่อคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพและปัจจัยส่วนบุคคล
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน จังหวัดนครราชสีมาจำนวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามลักษณะบุคลิกภาพ 10
ข้อ
และแบบสอบถามการรับรู้
และการปฏิบัติต่อคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย
60 ข้อ
เครื่องมือทุกชุดผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .39
ถึง .77 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .87
สถิติที่ใช้ในการสมมุติฐานคือ t – test ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1.
พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีการรับรู้คำประกาศสิทธิของผู้ป่วยแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
โดยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานต่ำกว่า 5
ปี
มีการรับรู้มากกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานตั้งแต่ 5
ปีขึ้นไป
และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยนอกและฉุกเฉิน
มีการรับรู้มากกว่าพยาบาลวิชาชีพ
ที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยในการปฏิบัติต่อคำประกาศสิทธิดังกล่าวไม่แตกต่างกัน
2.
พยาบาลวิชาชีพที่มีสถานที่ปฏิบัติงานต่างกัน มีการรับรู้และปฏิบัติต่อคำประกาศสิทธิของผู้ป่วยแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยนอกและฉุกเฉิน
มีการรับรู้และปฏิบัติต่อคำประกาศสิทธิของผู้ป่วยมากกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยใน
3.
พยาบาลวิชาชีพที่มีความแตกต่างกันในเรื่องจิตลักษณะด้านบุคลิกภาพ และลักษณะการปฏิบัติงาน มีการรับรู้และปฏิบัติต่อคำประกาศสิทธิของผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน
ผลการศึกษาครั้งนี้นำไปสู่การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาการปฏิบัติต่อคำประกาศสิทธิของผู้ป่วยต่อไป
|