รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2292
ผู้กรอกข้อมูล petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 23/8/2553
ชื่อเรื่องไทย การประเมินการดำเนินงานระบบบริการตามมาตรฐาน HAของกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก ชุติมา นิตุธร
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
สังกัด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
   
ปี 2547
บทคัดย่อ  

การที่จะรับรองได้ว่าโรงพยาบาลที่มีคุณภาพ  ที่ต้องให้บริการได้โดยต้องยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง  คือการดูแลผู้ป่วยโดยมีการสอบถามความต้องการของผู้ป่วย  การบริหารความเสี่ยง    การพิทักษ์สิทธิ  ความเชื่อ  และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้กับผู้ป่วย  ดังนั้นโรงพยาบาลแต่ละแห่งต่างก็มีการพัฒนาตนเองให้ผ่านการรับรองคุณภาพ  ซึ่งกระบวนการการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล  (Hospital  Accreditation  Process)  มีภารกิจในการนำความคิดและทิศทางที่ได้รับการชี้นำจากภาคีไปสู่การปฏิบัติ  เป็นการสร้างระบบคุณภาพบริการที่สามารถตอบสนองความการของผู้รับบริการโดยอยู่บนพื้นฐานมาตรฐานวิชาชีพ  โดยความต้องการและความคาดหวังของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ

                การศึกษาวิจัยครั้งนี้  มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินการดำเนินงานระบบบริการตามมาตรฐาน  HA  ของกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู  โรงพยาบาลร้อยเอ็ด  ของผู้ที่เข้ารับบริการ              เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ  โดยใช้ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นการประเมินการดำเนินงานที่ผู้รับบริการได้รับและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีความแตกต่างทางด้านเพศ  ช่วงอายุ  ระดับการศึกษา  และอาชีพ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้  ได้แก่  ผู้รับบริการจำนวน  123  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบประเมินเป็นแบบสอบถามการดำเนินงานระบบบริการตามมาตรฐาน  HA  ของกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู  โรงพยาบาลร้อยเอ็ด  ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  จำนวน  34  ข้อ  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  0.939  มีอำนาจจำแนก  0.29  ถึง  0.90  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t – test  (Independent  Samples)  และ  F – test  (ANOVA)

                ผลการศึกษาปรากฏดังนี้

1.             ผู้รับบริการโดยรวมและจำแนกตามเพศ  อายุ  ระดับการศึกษาและอาชีพมีความพึงพอใจการดำเนินงานระบบบริการตามมาตรฐาน  HA  ของกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โดยรวมและ   รายด้านอยู่ในระดับมาก  โดยเรียงตามอันดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ คือ  ด้านการดูแลผู้ป่วยรองลงมาคือ  เครื่องมือ  อุปกรณ์  และสิ่งอำนวยความสะดวก  และอันดับสุดท้ายคือ  ด้านโครงสร้างทางกายภาพ  อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม  3

2.             ผู้รับบริการที่มีการแตกต่างในเรื่องเพศ  อายุ  ระดับการศึกษามีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานระบบบริการตามมาตรฐาน  HA  ของกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู  โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน

3.             ผู้รับบริการที่มีอาชีพต่างกันมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานระบบบริการตามมาตรฐาน  HA  ของกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู  โดยรวมและรายด้าน  2  ด้านไม่แตกต่างกันแต่ในด้านเครื่องมือและการจัดการเครื่องมือ  มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05  โดยผู้รับบริการที่มีอาชีพเกษตรกรรมมีความพึงพอใจในระบบบริการตามมาตรฐาน  HA  มากกว่าอาชีพอื่น

โดยสรุปผลจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้รับบริการมีการตอบสนองที่ดี  พอใจกับการดำเนินงานระบบบริการตามมาตรฐาน  HA แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามระบบมาตรฐาน  HA  เป็นคุณภาพบริการที่สร้างความความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อประเมินการดำเนินงานระบบบริการตามมาตรฐาน  HA  ของกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู  โรงพยาบาลร้อยเอ็ด  ของผู้ที่เข้ารับบริการ             
 
    พิมพ์หน้านี้