รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 2298
ผู้กรอกข้อมูล petsunee
วันที่กรอกข้อมูล 23/8/2553
ชื่อเรื่องไทย ผลกระทบของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อการดำเนินงาน ด้านรักษาพยาบาล ภาระงาน แนวโน้มภาระงานด้านรักษาพยาบาล และความต้องการกำลังคนของสถานีอนามัย จังหวัดหนองคาย
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก ชาญศักดิ์ ครองสิงห์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สุนันทา โอศิริ
พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์
สังกัด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
   
ปี 2547
บทคัดย่อ

จังหวัดหนองคายได้ดำเนินการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม   2544  เป็นต้นมา  แต่ยังไม่มีการประเมินผลกระทบของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อการดำเนินงานด้านรักษาพยาบาล  ภาระงาน  แนวโน้มภาระงานด้านรักษาพยาบาลและความต้องการกำลังคนของสถานีอนามัย  ในระดับจังหวัด  ส่งผลกระทบให้องค์กรไม่ทราบถึงสถานการณ์ในการดำเนินงานด้านต่างๆ  ตลอดจนปัญหา  อุปสรรคและข้อจำกัดที่มีผลต่อโครงการ  ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาผลกระทบของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อการดำเนินงานด้านรักษาพยาบาล  ภาระงาน  แนวโน้มภาระงานด้านรักษาพยาบาล  และความต้องการกำลังคนของสถานีอนามัย  จังหวัดหนองคาย  มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้านรักษาพยาบาล  และเพื่อเปรียบเทียบภาระงานด้านรักษาพยาบาลของบุคลากรแนวโน้มภาระงานด้านรักษาพยาบาลของบุคลากร  และความต้องการกำลังคนของสถานีอนามัยก่อน  และหลังดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ของสถานีอนามัยในจังหวัดหนองคาย  กลุ่มตัวอย่างเป็นสถานีอนามัยในจังหวัดหนองคาย  จำนวน  50  แห่ง  จำแนกเป็นสถานีอนามัยทั่วไป  จำนวน  28  แห่ง  และสถานีอนามัยที่เป็นแม่ข่ายศูนย์สุขภาพชุมชน  (Primary  Care  Unit  :  PCU)  จำนวน  22  แห่ง  เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนผู้รับบริการด้านรักษาพยาบาลจากรายงานประจำเดือน  รง.สปภ.02/1  และ  0110  รง.5  ของสถานีอนามัยเป็นข้อมูลปีงบประมาณ  2544 -2546  (ต.ค.  43 – ก.ย.  46)และเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน  2546  ถึงเดือนมกราคม  2547  โดยใช้แบบเก็บรวบรวมข้อมูลและแบบสอบถามข้อมูลผู้รับบริการด้านรักษาพยาบาลถ่วงน้ำหนักด้วยอัตราความต้องการบุคลากร  ตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน  การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ  ฐานนิยม,  ค่าต่ำที่สุด,  ค่าสูงที่สุด,  ค่าเฉลี่ย,  ร้อยละ,  t – test  และ  Linear  Regression

                ผลการวิจัยพบว่า  สถานีอนามัยมีอัตรากำลังค่าเฉลี่ย  2.84  คน  ผลการดำเนินงานด้านรักษาพยาบาลของสถานีอนามัยทั่วไปปี  2544  สูงกว่าปี  2545  (p<0.05)  ผลการดำเนินงานด้านรักษาพยาบาลของสถานีอนามัยแม่ข่ายศูนย์สุขภาพชุมชนปี  2545  ต่ำกว่าปี  2546  (p<0.05)  และผลการดำเนินงานภาพรวมของสถานีอนามัยปี  2544  สูงกว่าปี  2545  และปี  2545  ต่ำกว่าปี  2546  (p<0.05)  ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างระหว่าสถานีอนามัยทั่วไปกับสถานีอนามัยแม่ข่าย  นอกจากนี้ยังพบว่าภาระงานด้านรักษาพยาบาลของสถานีอนามัยทั่วไปในปี  2544  สูงกว่าปี  2545  และปี  2546อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p<0.05)  แนวโน้มภาระงานด้านรักษาพยาบาลของบุคลากรสถานีอนามัยพบว่าระหว่างปี  2544 – 2545  มีแนวโน้มลดลงระหว่างปี  2545 – 2546  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในสถานีอนามัยทุกประเภท  (p<0.05)  และสถานีอนามัยมีความต้องการอัตรากำลังเพิ่มจากจำนวนที่มีจริงในปี  2544 – 2546  โดยเฉลี่ยร้อยละ  114.73, 83.70  และ  115.45  ตามลำดับ

                โดยสรุปโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีผลกระทบต่อจำนวนผู้รับบริการด้านรักษาพยาบาล  และภาระงานของบุคลากรสถานีอนามัย  และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  ดังนั้นเพื่อให้การบริการของสถานีอนามัยมีคุณภาพและมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด  จำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสถานีอนามัยทั้งด้านปริมาณ  ความรู้ความสามารถ  ให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยและนโยบายด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น 

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้านรักษาพยาบาล  และเพื่อเปรียบเทียบภาระงานด้านรักษาพยาบาลของบุคลากรแนวโน้มภาระงานด้านรักษาพยาบาลของบุคลากร  และความต้องการกำลังคนของสถานีอนามัยก่อน  และหลังดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ของสถานีอนามัยในจังหวัดหนองคาย
 
    พิมพ์หน้านี้