รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4357
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 26/8/2553
ชื่อเรื่องไทย ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล คุณลักษณะของงาน การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่องอังกฤษ RELATIONSHIPS BETWEEN PERSONAL FACTORS, JOB CHARACTERISTICS , JOB EMPOWERMENT AND JOB PERFORMANCE OF PROFESSIONAL NURSES, COMMUNITY HOSPITALS, NORTHEAST REGION
ชื่อผู้วิจัยหลัก ทัศนีย์ ทองรักศรี
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
เพ็ญพักตร์ อุทิศ
สังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
   
ปี 2544
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษา  1) ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ  และประสบการณ์การทำงาน  คุณลักษณะของงาน  การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน  กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  3) ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน  314 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามคุณลักษณะของงาน แบบสอบถามการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน และแบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา  และหาความเที่ยงโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ  .76, .94 และ  .96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปร เป็นขั้นตอน      

            ผลการวิจัยพบว่า

1.      พยาบาลวิชาชีพมีความสามารถในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับดี (  *  = 3.87)

2.      ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และประสบการณ์การทำงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการ

ปฏิบัติงานของพยาบาวิชาชีพ

3.      คุณลักษณะของงานและการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปาน

กลางกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01( r = .410 และ  .392 ตามลำดับ)

            4. ตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ตัวแปรการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการได้รับอำนาจ ตัวแปรคุณลักษณะของงานด้านความสำคัญของงาน และความมีเอกลักษณ์ของงานโดยสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 24.5 ( R 2  = .245) ได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

 

 Z ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาล = .295* Zการได้รับอำนาจ + .297** ความสำคัญของงาน+.121*Z ความมีเอกลักษณ์ของงาน

URL
วัตถุประสงค์

 เพื่อศึกษา

1) ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ  และประสบการณ์การทำงาน  คุณลักษณะของงาน  การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน  กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

3) ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 
    พิมพ์หน้านี้