รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4374
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 26/8/2553
ชื่อเรื่องไทย ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะงาน และปัจจัยด้านองค์การ กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกดั กระทรวงกลาโหม
ชื่อเรื่องอังกฤษ RELATIONSHIPS FACTORS AND ORGANIZATIONAL COMMITMENT OF PROFESSIONAL NURSES HOSPITALS UNDER THE JURISICTION OF THE MINISTRY OF DEFFENSE
ชื่อผู้วิจัยหลัก ลดาวัลย์ ราชธนบริบาล, พ.ท.หญิง
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ไม่พบข้อมูล
สังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
   
ปี 2544
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล  ลักษณะงานและปัจจัยด้านองค์การ  กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ  โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม  และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล  ลักษณะงานและปัจจจัยด้านองค์การ สามารถร่วมกันพยากรณ์ ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม  9 แห่ง จำนวน  347 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามลักษณะงานของพยาบาลวิชาชีพ แบบสอบถามปัจจัยด้านองค์การของพยาบาลวิชาชีพ และแบบสอบถามความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ ได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ  .93, .89 และ  .94 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์  สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า

1.      ปัจจัยบุคคล ระดับการศึกษาและอายุไม่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ

2.      ลักษณะงาน ได้แก่ ความน่าสนใจของงาน ความหลากหลายของทักษะ ความมีอิสระในการปฏิบัติงาน

ผลย้อนกลับของงาน การทำงานเป็นทีม ผู้ร่วมงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ภาระงานที่มีผลต่อจิตใจ  และความกดดันเกี่ยวกับงานด้านเวลา  มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( r = .527, .299, .360, .426, .412, .361, .454 และ  .320 ตามลำดับ) และลักษณะงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( r = .587)

3.      ปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ ขนาด (จำนวนบุคลากร) ภาวะผู้นำ  ระดับเงินเดือน ความก้าวหน้าใน

วิชาชีพ และโอกาสได้รับการฝึกอบรม และการศึกษาต่อ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 ( r = .467, .378, .420, .489 และ  .405 ตามลำดับ) และปัจจัยด้านองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( r = .616)

4.      กลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่

ระดับ  .05 คือ กลุ่มอายุ 41 ปี ขึ้นไป ลักษณะงาน และปัจจัยด้านองค์การสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ  48.6 ( R 2 = .486) ได้สมการดังนี้

(รูปคะแนนมาตรฐาน)

 ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ = .415 (ปัจจัยด้านองค์การ) + .368 (ลักษณะงาน)  + .086 (อายุ  41 ปีขึ้นไป)
URL
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล  ลักษณะงานและปัจจัยด้านองค์การ  กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ  โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม  และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล  ลักษณะงานและปัจจจัยด้านองค์การ สามารถร่วมกันพยากรณ์ ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ
 
    พิมพ์หน้านี้