การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ภาษาในการจูงใจของหัวหน้าหอผู้ป่วยการทำงานเป็นทีมการพยาบาล
ภาวะผู้ตามที่มีประสิทธิผลของพยาบาลประจำการกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย
โรงพยาบาลศูนย์ และศึกษาตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย
โรงพยาบาลศูนย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
ในโรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 362 คน ซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
แบบสอบถามการใช้ภาษาในการจูงใจของหัวหน้าหอผู้ป่วย การทำงานเป็นทีมการพยาบาล
ภาวะผู้ตามที่มีประสิทธิผลของพยาบาลประจำการและประสิทธิผลของหอผู้ป่วย
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ
และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงโดยทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .96, .94, .90 และ .89 ตามลำดับ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.
ค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์
อยู่ในระดับมาก (
= 3.90 )
2.
การใช้ภาษาในการจูงใจของหัวหน้าหอผู้ป่วย
มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางมี
ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ( r = .564)
3. การทำงานเป็นทีมการพยาบาล
มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.001 ( r = .628)
4. ภาวะผู้ตามที่มีประสิทธิผลของพยาบาลประจำการ
มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รระดับ .001 ( r - .657)
5. ตัวแปรพยากรณ์ทุกตัว ได้แก่
ภาวะผู้ตามที่มีประสิทธิผลของพยาบาลประจำการ การทำงานเป็นทีมการพยาบาล
การใช้ภาษาในการจูงใจของหัวหน้าหอผู้ป่วย
สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.001 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของหอผู้ป่วยได้ร้อยละ
58 ( R 2
= .58) และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
ได้ดังนี้
Z ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย = + .413Z ภาวะผู้ตามที่มีประสิทธิผลของพยาบาลประจำการ +.287 *Z การทำงานเป็นทีมการพยาบาล
+ .229*Z การใช้ภาษาในการจูงใจของหัวหน้าหอผู้ป่วย
|