บทคัดย่อ
|
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมในการบริการพยาบาลจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ในหอผู้ป่วยทั้งหมด 4 หอผู้ป่วย
โรงพยาบาลประสาทไวทโยปถัมภ์
โดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม ที่แยกออกมาเป็นอิสระจากระบบบัญชี (Stand – alone
Personal Computer Based
System) ใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่ม ผู้บริหารทางการพยาบาล
11 คน เพื่อวิเคราะห์กิจกรรม ระบุกิจกรรมและระบุตัวผลักดันกิจกรรม
ได้กิจกรรมปฐมภูมิ 19 กิจกรรม และกิจกรรมทุติยภูมิ 1 กิจกรรม นำมาจัดเข้าศูนย์กิจกรรมได้ 12 ศูนย์กิจกรรม
รวบรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และปันส่วนต้นทุนเข้าไปในกิจกรรมตามเกณฑ์ที่เหมาะสม
ซึ่งได้คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ และต้นทุนในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้มี 13 ชุด ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ใน 5 คน ใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล 3 เดือนคือ ตั้งแต่เดือนมกราคม
ถึง มีนาคม พ.ศ. 2545
ผลการวิเคราะห์ต้นทุนพบว่า
ต้นทุนการบริการพยาบาล ในหอผู้ป่วยใน รวมทั้งสิ้น 3,679,554.64 บาท ประกอบด้วย
ต้นทุนค่าแรงทางตรง เท่ากับ 2,045,058.14 บาท และ
ต้นทุนค่าใช้จ่าย (รวมค่ายา) เท่ากับ 1,634,496.50 บาท
คิดเป็นร้อยละ 55.58
และ 44.42
สัดส่วนต้นทุนค่าแรงทางตรงของพยาบาลวิชาชีพ: พยาบาลเทคนิค : ผู้ช่วยเหลือคนไข้ เท่ากับ 1.28 : 1 : 1.26
กิจกรรมที่มีต้นทุนค่าแรงทางตรงสูงที่สุด คือ การส่งเสริมพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพทางอารมณ์และสังคม
รองลงมา คือ การดูแลทั่วๆ ไป เท่ากับ
515,720.28 บาท และ 395,470.98 บาท
กิจกรรมที่มีต้นทุนค่าใช้จ่าย สูงที่สุด คือ การดูแลทั่ว ๆ ไป รองลงมา
คือการส่งเสริมพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพทางอารม์และสังคมเท่ากับ 397,389.72 และ 361,624.27 บาท
กิจกรรมที่มีต้นทุนรวมสูงที่สุด คือการส่งเสริมพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพ
ทางอารมณ์และสังคม รองลงมา คือ การดูแลทั่วๆ ไป เท่ากับ 877,344.55 บาท และ 792,860.70
บาทกิจกรรมที่มีต้นทุนรวมต่อรายสูงที่สุด คือ การพยาบาลที่ให้กับครอบครัว
รองลงมาคือการจำหน่ายผู้ป่วยเท่ากับ 1,274.32 บาท/ราย และ 1,037.44 บาท/ราย กิจกรรมที่มีต้นทุนรวมต่อครั้งสูงที่สุด
คือ การพัฒนาทักษะการดูแลตนเอง รองลงมา คือ
การส่งเสริมพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพทางอารมณ์และสังคม เท่ากับ 3,054.58 บาท/ครั้ง และ
1,642.97 บาท/ครั้ง กิจกรรมที่มีต้นทุนรวมสูงที่สุดในผู้ป่วยประเภทที่ 1 และ 4
คือการดูแลทั่ว ๆ ไป และในผู้ป่วยประเภทที่ 2 และ 3 คือ
การส่งเสริมพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพทางอารมณ์และสังคม เท่ากับ 16,258.95 บาท 68,834.28 บาท 575,378.55 บาท และ 226,289.04 บาท ตามลำดับ
กิจกรรมที่มีต้นทุนรวมต่อรายสูงที่สดในผู้ป่วยประเภทที่ 1 และ 2 คือ การรับใหม่
และในผู้ป่วยประเภทที่ 3 และ 4 คือ
การพัฒนาทักษะการดูแตนเองเท่ากับ 723.13 บาท/ราย
672.65 บาท/ราย 302.54
บาท/ราย และ 201.35 บาท/ราย
ตามลำดับ
|