การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความจงรักภักดีต่อองค์การของพยาบาลประจำการ
โรงพยาบาลชุมชน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำบารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วย ความก้าวหน้าในอาชีพ
กับความจงรักภักดีต่อองค์การของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 385 คน
ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ
แบบสอบถาม 1 ชุด ประกอบด้วย 3 ตอน คือ
แบบสอบถามภาวะผู้นำบารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วย ความก้าวหน้าในอาชีพของพยาบาลประจำการ
และความจงรักภักดีต่อองค์การของพยาบาลประจำการ
ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน
และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค
มีค่าเท่ากับ .98 .91 และ .92
ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์การณ์จร สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1.
ความจงรักภักดีต่อองค์การของพยาบาลประจำการ
โรงพยาบาลชุมชน อยู่ในระดับสูง (
= 3.87)
2.
ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์การ
อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (C = .18, p = .04) ส่วนอายุ ระดับการศึกษา
และระยะเวลาในการปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์การ
3.
ภาวะผู้นำบารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วย
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความจงรักภักดีต่อองค์การของพยาบาลประจำการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 ( r = .38)
4.
ความก้าวหน้าในอาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความจงรักภักดีต่อองค์การของพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 ( r =.69)
5. ตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์ความจงรักภักดีต่อองค์การของพยาบาลประจำการ
ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือความก้าวหน้าในอาชีพ
สถานภาพสมรสคู่ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
และการศึกษาระดับปริญญาตรี
สามารถร่วมกันพยากรณ์ความจงรักภักดีต่อองค์การของพยาบาลประจำการได้ร้อยละ 51.2 ( R 2 =
.512) ได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้
ความจงรักภักดีต่อองค์การ =.69 (
ความก้าวหน้าในอาชีพ ) + .13 (สถานภาพสมรสคู่) +.11
(ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน) + .07
(การศึกษาระดับปริญญาตรี)
|