รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1318
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 30/8/2553
ชื่อเรื่องไทย การปฏิบัติของบุคลากรพยาบาลในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางละอองฝอย ขนาดใหญ่ (Droplet transmission )
ชื่อเรื่องอังกฤษ Nurse’s Practices of Prevention Droplet Transmission
ชื่อผู้วิจัยหลัก บัวหลัน มีชำนะ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สมคิด บุญประเสริฐ
สุจิตรา ผ่องผดุง
ศุภนีภรณ์ อินทร์หม่อม
นาพร ทองก้อน
สลักจิตร อินทะยศ
สังกัด โรงพยาบาลศูนย์ โปรดระบุ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน รายงานวิจัย
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
อื่นๆโรงพยาบาลอุตรดิตถ์
   
ปี 2546
บทคัดย่อ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา    โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เกิดจากการแพร่กระจ่ายเชื้อทางละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplet  transmission)  นับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์  คณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลได้กำหนดแนวทางในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplet  transmission) ขึ้น คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาว่าบุคลากรพยาบาลมีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวอย่างไร

วัตถุประสงค์การวิจัย    เพื่อศึกษาการปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplet  transmission) ของบุคลากรพยาบาลโรงพยาบาลอุตรดิตถ์

วิธีดำเนินการวิจัย         เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาการปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรค ของบุคลากรพยาบาลที่ปฏิบัติงานผู้ป่วยใน กลุ่มงานอายุรกรรม ศัลยกรรม  และกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จำนวน 200 คน ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 152 คน และพยาบาลเทคนิค จำนวน 48 คน รวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม ถึง 29 กรกฎาคม 2546 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยอาศัยคู่มือการปฏิบัติงานการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย    พบว่า ประชากรเป็นเพศหญิงร้อยละ 94.0 อายุเฉลี่ย 33.6 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ  72.0 มีประสบการณ์ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์เฉลี่ย  6.3 ปี ในภาพรวมบุคลากรพยาบาลปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplet transmission) คือปฏิบัติทุกครั้ง ร้อยละ  49.3 ปฏิบัติบางครั้ง ร้อยละ  37.8 และไม่ปฏิบัติร้อยละ  12.9 ปัญหา และอุปสรรคในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplet  transmission) ที่สำคัญ ได้แก่ บุคลากรขาดความตระหนักในการป้องกันตนเอง และผู้ป่วย อุปกรณ์ป้องกันมีจำนวนไม่เพียงพอ ในหน่วยงานมีผู้ป่วยจำนวนมากทำให้ไม่สามารถแยกผู้ป่วยติดเชื้อจากผู้ป่วยไม่ติดเชื้อและจัดระยะห่างระหว่างเตียง 3 ฟุตได้

URL
วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาการปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplet  transmission) ของบุคลากรพยาบาลโรงพยาบาลอุตรดิตถ์

 
    พิมพ์หน้านี้