รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4497
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 1/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลรัฐบาล ในช่วงพุทธศักราช 2550 – 2554
ชื่อเรื่องอังกฤษ HUMAN RESOURCE MANAGEMENT IN NURSING ORGANIZATION GOVERNMENTAL HOSPITALS DURING B.E. 2550 – 2554
ชื่อผู้วิจัยหลัก คนึงนิจ อุณหโชค
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
สังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
   
ปี 2546
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาล  ในช่วงพุทธศักราช  2550 – 2554 วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย  2 ขั้นอตน  ดังนี้ ขั้นที่  1  ศึกษาและวิเคราะห์เอกสารเพื่อนำสาระที่ได้มากำหนดกรอบความคิดในการวิจัย ขั้นตอนที่  2 ศึกษาการบริหารทรัพยาการมนุษย์ของกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลรัฐบาล ในช่วงพุทธศักราช  2550 – 2554 โดยใช้เทคนิค  Ethnographic Delphi  Futures  Research (EDFR) คัดเลือกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มงาน การพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาล โดยพิจารณาจากค่ามัธยฐานตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป และเป็นความคิดเห็นที่ สอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญ

            ผลการวิจัยพบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลรัฐบาล ในช่วงพุทธศักราช  2550 – 2554 ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เป็นเครื่องมือในทุกกระบวนการ ประกอบด้วย  6 ด้าน ดังนี้

            1. การวางแผน แผนงานมีลักษณะเป็นแผนกกลยุทธ์ที่มีระยะสั้นโดยให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์และตัวชี้วัดอย่างชัดเจน โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลางให้มีประสิทธิภาพ

            2.  การคัดเลือก กลุ่มงานการพยาบาลกำกับให้ฝ่ายบุคคลทำการรับสมัครแบบเปิดกว้าง และประสานกับสถานศึกษาในการคัดเลือกโดยใช้การคัเลือกมากกว่าหนึ่งวิธี ระบบมีความยุติธรรม ตรวจสอบได้

            3.  การพัฒนาบุคลากร กลุ่มงานการพยาบาลเสริมสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเกิดความกระตือรือร้น และสนับสนุนให้ได้รับการพัฒนาครบถ้วนทุกคนในทุกปี โดยเฉพาะสาขาการพยาบาลด้วยการจัดอบรมภายใน

            4. การประเมินผล กลุ่มงานการพยาบาลประเมินผลรายบุคคลและทีม แบบสามาร้อยหกสิบองศา อ้วยความยุติธรรม โดยคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลและมีสื่อสารให้มีทัศนคติที่ดีต่อการประเมินผล ผลการประเมินมีความสำคัญต่อรางวัลและการดำรงสถานภาพของบุคลากร

            5. การให้รางวัล กลุ่มงานการพยาบาลจัดระบบการให้รางวัลแก่ผู้ที่มีศักยภาพสูงด้วยความยุติธรรมตามภารกิจและความสามารถ โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มงานอื่น และปรับค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงกับเอกชน

            6. การธำรงรักษากลุ่มงานการพยาบาลให้ความสำคัญกับบรรยากาศองค์กรและความพึงพอใจด้วยการเปิดโอกาสให้บุคลากรออกความคิดเห็น ส่งเสริมกิจกรรมสัมพันธ์ และจัดสวัสดิการที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานและความปลอดภัย ปรับสวัสดิการการรักษาพยาบาลเป็นระบบกองทุนหรือระบบประกัน

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลรัฐบาล  ในช่วงพุทธศักราช  2550 – 2554
 
    พิมพ์หน้านี้