รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4534
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 1/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนาตนเองของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชน
ชื่อเรื่องอังกฤษ SELF DEVELOPMENT OF HEAD NURSES, COMMUNITY HOSPITALS
ชื่อผู้วิจัยหลัก ชูชีพ มีศิริ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สุชาดา รัชชุกูล
สังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
   
ปี 2546
บทคัดย่อ  การศึกษาเชิงปรากฎการณ์วิทยานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและประสบการณ์การพัฒนาตนเองของหัวหน้าหอผู้ป่วย ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งหนึ่งในเขตภาคกลาง ที่มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป  จำนวน  19 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเทป  วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Colaizzi

            ผลการศึกษาพบว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยให้ความหมายของการพัฒนาตนเองว่า เป็นการปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ในด้านความรู้และทักษะในการบริหารจัดการควบคู่ไปกับมีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา อีกประการคือเป็นความปรารถนาที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะวิทยาการต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความปรารถนาภายในตนเป็นแรงจูงใจให้ต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถปรับตัวตอบสนองต่อระบบบริการสุขภาพ ส่วนประสบการณ์การพัฒนาตนเองของหัวหน้าหอผู้ป่วยพบว่า การพัฒนาจะเริ่มจากการมีแรงผลักดันหลังได้รับตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วย ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้สึกรับผิดชอบต่อตำแหน่งตามบทบาทหน้าที่ ความรู้สึกที่ต้องรู้มากกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา ความต้องการเป็นแบบอย่างพยาบาลที่ดีในด้านการปฏิบัติการพยาบาล การต้องทำหน้าที่สอนและนิเทศบุคลากรในทีมสุขภาพประการสำคัญคือ ความรู้สึกขาดความพร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยเป็นแรงผลักดันที่ทำให้มีความพยายามที่จะพัฒนาตนเองทั้งนี้โดยได้รับการสนับสนุนการพัฒนาตนเองจากหน่วยงานต้นสังกัดและครอบครัว

            นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่า วิธีการพัฒนาตนเองของหัวหน้าหอผู้ป่วยประกอบไปด้วย การพัฒนาด้านความรู้โดยใช้วิธีการแสวงหาความรู้ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การพัฒนาด้านจิตใจโดยการสำรวจตนเอง การควบคุมอารมณ์และการลดความเครียด และการพัฒนาร่างกายโดยการบริหาร่างกาย การดูแลสุขภาพตนเอง การควบคุมอารมณ์และการลดความเครียด และการพัฒนาร่างกายโดยการบริหารร่างกาย การดูแลสุขภาพและการเลือกบริโภคอาหาร ประการสำคัญผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและผู้บังคับบัญชาในการพัฒนาตนเองน้อย ดังนั้นเพื่อให้หัวหน้าหอผู้ป่วยมีความมั่นใจและมีทักษะในการบริหารจัดการ จึงควรมีการเตรียมความพร้อมให้ก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหมายและประสบการณ์การพัฒนาตนเองของหัวหน้าหอผู้ป่วย ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งหนึ่งในเขตภาคกลาง ที่มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป  จำนวน  19 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเทป  วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Colaizzi
 
    พิมพ์หน้านี้