การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงาน
(ด้านประสบการณ์การทำงานและขนาดขององค์การ)
ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสนับสนุนขององค์การ
กับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ และปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลประจำการ
โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 446 คน เลือกโดยวิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
แนวคิดที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของ House
(1976) การสนับสนุนจากองค์การของ Eisenberger et at
(1986) และความพึงพอใจในงานของ Stamps and
Piedmonte (1986) แนวคิดทั้งหมดนำมาใช้สร้าง เครื่องมือวิจัย
ซึ่งตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .91 , .87 และ .89
ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไค-สแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
และการวเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1.
ความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการอยู่ในระดับปานกลาง (
= 3.1)
2.
ประสบการณ์การทำงานและขนาดขององค์การไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ
3.
ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย
กับการสนับสนุนจากองค์การ
มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( r=.488 และ .715 ตามลำดับ)
4. ตัวแปรที่สามารถร่วมพยากรณ์ความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 คือ การสนับสนุนจากองค์การ
และภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย โดยสามารถร่วมพยากรณ์ได้ร้อยละ
54.2 (R 2 = .542)
สร้างสมการในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
Z ความพึงพอใจในงาน =.622Z การสนับสนุนจากองค์การ +.199Z ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วย
จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า
การสนับสนุนจากองค์การและภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วยเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มระดับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการได้
|