การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง
มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างชุดการฝึกการกล้าแสดงออก
และศึกษาผลการฝึกการกล้าแสดงออกและความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล
ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการอาสาสมัคร จำนวน 36 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 18 คน
โดยวิธีการส่ม แบบแผนการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบวิจัยที่มีกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม
และมีการทดสอบก่อนและหลัง ( Pretest – Posttest Control
Group Design)
กลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกใด ๆ กลุ่มทดลองได้รับการฝึกการกล้าแสดงออกสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 30
นาที เป็นเวลาติดต่อกัน 2 สัปดาห์รวม 4
ครั้ง โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ คือ การให้คำแนะนำการซ้อมบทบาทของพฤติกรรม
การแสดงตัวอย่าง การแสดงบทบาทสมมติ การเสริมแรง การทำการบ้าน
การป้อนข้อมูลย้อนกลับ และการเขียนบท
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
(1)
แบบวัดความกล้าแสดงออกซึ่งผู้วิจัยปรับปรุงใหม่จากแบบวัดความกล้าแสดงออกระดับวิทยาลัยของกาแลสซี่
และคณะ ( Gallassi, et al., 1974) (2) แบบวัดความวิตกกังวล
ซึ่งผู้วิจัยปรับปรุงใหม่จากแบบวัดความวิตกกังวลของซุง ( Zung, 1991) (3)
ชุดการฝึกกล้าแสดงออก
สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ดัดแปลงจากรูปแบบการฝึกของซานส์เบอรี่ (Sansbury,
1974) (4)
วีดิทัศน์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออกสร้างขึ้นโดยผู้วิจัย (5)
แบบทดสอบแยกพฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก พฤติกรรมก้าวร้าว และพฤติกรรมกล้าแสดงออกของ
สมโภชน์ เยี่ยมสุภาษิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบค่าที
( t = test )
ผลการวิจัยพบว่า
1.
นักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการฝึกการกล้าแสดงออก มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกมากกว่านักศึกษาพยาบาลที่ไม่ได้รับการฝึก
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.
นักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการฝึกการกล้าแสดงออก
มีความวิตกกังวลมากกว่านักศึกษาพยาบาลที่ไม่ได้รับการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
|