การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2
ประการ คือ (1)
ศึกษาการรับรู้การปฏิบัติของพยาบาลตามทรรศนะของผู้ป่วย (2)
ศึกษาลักษณะการปฏิบัติของพยาบาลตามความต้องการของผู้ป่วย โดยตั้งสมมติฐาน 2 ประการคือ (1) ผู้ป่วยเพศชายและหญิงมีการรับรู้ต่อการปฏิบัติองพยาบาลแตกต่างกัน (2)การรับรู้ของผู้ป่วยต่อระดับการปฏิบัติของพยาบาลแต่ละแผนกแตกต่างกัน
กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 237 ราย เป็นเพศชาย 119 ราย เพศหญิง 118 ราย แบ่งเป็นแผนกการพยาบาล 5 แผนก คือ
แผนกการพยาบาลศัลยกรรม แผนกการพยาบาลอายุรกรรม
แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินและวิกฤต
แผนการพยาบาลบำบัดพิเศษ และแผนกการพยาบาลจักษุ โสต สอ นาสิก
และผู้ป่วยทั่วไป
เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์
การรับรู้ของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติของพยาบาลวิเคราห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ
ไคว์สแควร์ โดยการทดสอบฟิชเชอรแบ่งเป็น 4 ด้านความต้องการ ดังนี้คือ ด้านร่างกาย
ด้านความมั่นคงปลอดภัย ด้านสังคม และด้านการยกย่องนับถือ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้ป่วยเพศชายและหญิง
มีสัดส่วนการรับรู้ต่อการปฏิบัติของพยาบาลแตกต่างกันในการดูแลความต้องการด้านร่างกาย และความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย
แต่ความต้องการด้านสังคมและความต้องการด้านการยกย่อง นับถือพบว่าไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ
0.05
2.
สัดส่วนการรับรู้ของผู้ป่วยต่อระดับการปฏิบัติของพยาบาลแต่ละแผนกมีความแตกต่างกันในการดูแลความต้องการด้านร่างกาย
ด้านความมั่นคงปลอดภัยและด้านสังคม
แต่ความต้องการด้านการยกย่องนับถือ
พบว่าไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
|