การดูแลเป็นมโนทัศน์สำคัญของวิชาชีพพยาบาลที่ยังต้องการการศึกษาในการอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวงการวิชาชีพพยาบาลไทย ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อทราบถึงมิติการดูแลของผู้ป่วยในระบบบริการและระบบการศึกษาความแตกต่างของมิติการดูแลของผู้ป่วย พยาบาล
นักศึกษาและอาจารย์แต่ละสถาบันและวิธีการสอน การประเมินผลมิติการดูแลในสถาบันการศึกษาพยาบาล
การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย
นักศึกษาและอาจารย์จากคณะพยบาลศาสตร์
และภาควิชาพยาบาลศาสตร์ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 5 แห่ง จากทุกภูมิภาคของประเทศ และผู้ป่วย
พยาบาลในโรงพยาบาลอันเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของสถาบันการศึกษาพยาบาลดังกล่าว
กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 950 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้แนวคิดจากวาเลนทีน
( 1989) และเรย์ (1988)
จำแนกการดูแลเป็น 4
มิติ คือ มิติเชิงจิตใจ
มิติเชิงปรัชญา
มิติเชิงโครงสร้าง
และมิติเชิงปฏิสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า
มิติการดูแลทั้ง 4 มิติ มีผู้ป่วยได้รับร้อยละ 68 - 87 ส่วนพยาบาล นักศึกษาและอาจารย์
ได้ให้การดูแล ได้ปฏิบัติ
ได้สอน ในมิติการดูแลทั้ง 4 มิติมากกว่าร้อยละ 90
ในด้านความแตกต่างของมิติการดูและระหว่างสถาบัน 5 ภูมิภาค
พบว่า ผู้ป่วยในโรงพยาบาลภาคกลาง
ได้รับการดูแลต่างจากผู้ป่วยอีก 4 ภูมิภาค พยาบาลประจำการภาคเหนือให้การดูแลต่างจากอีก
4 ภูมิภาค ส่วนระบบการศึกษาเกี่ยวกับมิติการดูแลในทั้ง 5 สถาบัน ไม่แตกต่างกัน
ข้อค้นพบประการสุดท้ายพบว่าวิธีการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา
ใช้วิธีการสอนโดยการบรรยาย และการปฏิบัติการ
วิธีการประเมินผลใช้การสังเกตเป็นส่วนใหญ่
|