การวิจัยครั้งนี้
เป็นการศึกษาเพื่อวัดระดับความพึงพอใจในงาน
ปัจจันที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน
และการสร้างสมการทำนายความพึงพอใจในงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยมาแล้วไม่น้อยกว่า 6
เดือน คือ ก่อนเดือนตุลาคม 2533 จำนวน 183
คน ในช่วงเดือนสิงหาคม 2534
ถึงเดือนกันยายน 2534 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย
(Simple random sampling )
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และส่วนที่ 2 แบบวัดความพึงพอใจในงานที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น วัดความพึงพอใจในงาน 7 ด้าน คือด้านสภาพการทำงาน ด้านสัมพันธภาพในการทำงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ
ด้านโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน
ด้านความมั่นคงปลอดภัย
และด้านศักดิ์ศรีวิชาชีพพยาบาล
ผ่านการหาความตรงตามเนื้อหา
และหาค่าความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha
coefficient) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.98 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาระดับความพึงพอใจในงานจากวิธี
Cumulative percentage distribution
หาค่าความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product
moment correlation coefficient) และสร้างสมการทำนายความพึงพอใจในงานโดยการสร้างสมการถดถอย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. พยาบาลส่วนใหญ่ (ร้อยละ 77.0 )
มีความพึงพอใจในงานในระดับปานกลาง
และร้อยละ 22.4 มีความพึงพอใจในงานระดับสูง
2. อายุ
มีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05
3.
สมการทำนายความพึงพอใจในงานดังนี้
ความพึงพอใจในงาน = 209.55105 – 1.02176 (อายุ)
|