รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4559
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 2/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การตรวจสอบคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล : 2531 – 2533
ชื่อเรื่องอังกฤษ -
ชื่อผู้วิจัยหลัก บุบผา ชอบใช้
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ไม่พบข้อมูล
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2533
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้จุดประสงค์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฯ 1 และหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฯ 2 โดยได้ศึกษาการบันทึกทางการพยาบาลในส่วนของ  Nurse’s Note, Medication  record และ  Graphic  Sheet จากเวชระเบียนที่จำหน่ายแล้วของปี 2530 ซึ่งได้ทำการสุ่มตัวอย่างประชากรหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฯ 1  124 ฉบับ และหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฯ 2  131 ฉบับ ใช้เครื่องมือตรวจสอบ ซึ่งบางส่วนได้ดัดแปลงมาจากแบบตรวจสอบของภิรมย์  รชตะนนท์   และส่วนใหญ่ของการบันทึกในส่วนของ Nurse’s Note  ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเองเพื่อให้สอดคล้องกับคู่มือการเขียนบันทึกทางการพยาบาลของงานบริการพยาบาล แบบตรวจสอบได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงทางด้านนี้จากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว

            ผลการวิจัยมีดังนี้ คือ

            1. คุณภาพการบันทึกส่วนใหญ่ของ Nurse’s Note  พบบันทึกอยู่ในระดับดี  3 ตอน ซึ่งเหมือนกันทั้งหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฯ 1  และอุบัติเหตุฯ 2  คือ ตอนที่  2  รายงานประจำวันได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ  76.33 และ  72.80 ตามลำดับ  ตอนที่  5.1 รายงานผู้ป่วยรายใหม่ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ  71.21 และ  72.88 ตามลำดับ และตอนที่  5.2  รายงานผู้ป่วยหลังผ่าตัด ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ  72.08 และ  80.30 ตามลำดับ และบันทึกอยู่ในระดับต่ำมาก 1 ตอน ซึ่งเหมือนกันทั้ง 2 หอผู้ป่วย เช่นกันคือ ตอนที่ 4 การสอน แนะนำ นิเทศ ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ  6.95 และ  10.16 ตามลำดับ  คุณภาพการบันทึกของหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฯ 1    4 ตอน ซึ่งได้แก่ ตอนที่ 1  ความสมบูรณ์และถูกต้องของแบบฟอร์ม  ตอนที่3 การปฏิบัติการพยาบาลและการรักษา ตอนที่  5.3 รายงานผู้ป่วยย้าย  ตอนที่  5.4  รายงานผู้ป่วยจำหน่ายอยู่ในเกณฑ์ต่ำ  ได้คะแนนเฉลี่ย อยู่ในระหว่างร้อยละ  46 – 62 และคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลของหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฯ 2 จำนวน 3 ตอน ที่ได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์พอใช้คือ ตอนที่ 1 ความสมบูรณ์และความถูกต้องของแบบฟอร์ม ตอนที่ 3 การปฏิบัติการพยาบาล และตอนที่  5.5 รายงานผู้ป่วยถึงแก่กรรม  ซึ่งได้ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง ร้อยละ  53 – 70 และจำนวน 2 ตอนที่ได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์พอใช้คือ ตอนที่  5.3 รายงานผู้ป่วยย้ายและ ตอนที่  5.4 รายงานผู้ป่วยจำหน่าย  ซึ่งได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระหว่างร้อยละ  43 – 47

            2.  คุณภาพการบันทึกในส่วนของ Medication  Record และ Graphic  Sheet  ในทั้ง 2 ส่วนนี้  บันทึกได้อยู่ในระดับดี – ดีมาก ทั้งสองหอผู้ป่วย คือมีค่าเฉลี่ยร้อยละระหว่าง  85.13 – 91.95

            3. คุณภาพการบันทึกของทั้งสองหอผู้ป่วย เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมีความแตกต่างกันในส่วนของ Nurse’s Note  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3 ตอน คือ ตอนที่  ความสมบูรณ์และถูกต้องของแบบฟอร์มและตอนที่  5.1 การรายงานผู้ป่วยรับใหม่ที่ระดับความเชื่อมั่นที่  .01 และตอนที่  3 รายงานผู้ป่วยประจำวันและการรักษาที่ระดับความเชื่อมั่นที่  .05 ในส่วนของ Graphic  sheet  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1 ตอน คือ ตอนที่  2 ปฏิบัติการพยาบาลที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติที่ .01

 

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อตรวจสอบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฯ 1 และหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฯ 2 โดยได้ศึกษาการบันทึกทางการพยาบาลในส่วนของ  Nurse’s Note, Medication  record และ  Graphic  Sheet จากเวชระเบียนที่จำหน่ายแล้วของปี 2530
 
    พิมพ์หน้านี้