รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1009
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 8/5/2553
ชื่อเรื่องไทย ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศ จริยธรรมในงานของกลุ่มการพยาบาล คุณภาพชีวิต การทำงาน กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป
ชื่อเรื่องอังกฤษ Effects of the use of discharge planning focusing on continuity Of care in infants with diarrhea on nursing service satisfaction Of caregivers and infant care behavior
ชื่อผู้วิจัยหลัก ญาณิศา ลิ้มรัตน์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
สุชาดา รัชชุกูล
สังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
อื่นๆหอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลศูนย์
   
ปี 2547
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล  บรรยากาศจริยธรรมในงานของกลุ่มการพยาบาล  คุณภาพชีวิตการทำงาน  กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ  โรงพยาบาลทั่วไป

กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 384 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามบรรยากาศจริยธรรมในงานของกลุ่มการพยาบาล  แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงาน  และแบบสอบถามความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ  ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาค่าความเที่ยง  โดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ .93 , .88 และ .96  ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  และวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ  บรรยากาศจริยธรรมในงานของกลุ่มการพยาบาล  และคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ  โรงพยาบาลทั่วไป  อยู่ในระดับสูง  2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านประสบการณ์ในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 (r = .22)      3) บรรยากาศจริยธรรมในงานของกลุ่มการพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 (r = .60)   4) คุณภาพชีวิตการทำงานพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพัน  ต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 (r = .67)     5)  ตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 คือ คุณภาพชีวิตการทำงานพยาบาล  และบรรยากาศจริยธรรมในงานของกลุ่มการพยาบาล สามารถร่วมกันพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 50.7  (R2 = .507)   ได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้  ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ  = .480  คุณภาพชีวิตการทำงาน + .308 บรรยากาศจริยธรรมในงานของกลุ่มการพยาบาล

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล  บรรยากาศจริยธรรมในงานของกลุ่มการพยาบาล  คุณภาพชีวิตการทำงาน  กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ 
 
    พิมพ์หน้านี้