การวิจัยเชิงบรรยายนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถี่ในการเผชิญประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และความถี่ของประเด็นขัดแย้งที่พบบ่อยที่สุด 5
อันดับแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 163 คน
เลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานจริงใน 18
หอผู้ป่วยของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย
แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
ซึ่งผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงของเครื่องมือ
โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนมาคเท่ากับ 0.83
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเผชิญประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมโดยรวมอยู่ในระดับน้อย
(
= 0.87, SD = 0.81) กลุ่มตัวอย่างเผชิญประเด็นขัดแย้งในเรื่องการเคารพเอกสิทธิ์ผู้ป่วยกับการกระทำ/การดูแลที่เป็นประโยชน์สูงสุดและอยู่ในระดับปานกลาง
(
= 1.01, SD = 0.81) รองลงมาคือ
ความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน/ครอบครัว/ญาติผู้ป่วย ( = 0.95, SD
= 0.80) และความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ( = 0.56, SD
= 0.71)
สำหรับประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่พยาบาลเผชิญในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชบ่อยที่สุด
5 อันดับแรก คือ (1)
รู้สึกคับข้องใจเมื่อผู้ป่วยต้องการกลับบ้านเมื่ออาการจิตทุเลา แต่พยาบาลเชื่อว่าผู้ป่วยจะมีอาการกำเริบซ้ำเนื่องจากขาดการดูแลที่ดีจากครอบครัว/ญาติ
(
= 1.70, SD = 0.91) (2) การรายงานอาการผู้ป่วยทางโทรศัพท์
เนื่องจากเห็นว่าผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ แต่แพทย์กับสั่งการรักษาทางโทรศัพท์
และจำเป็นต้องทำตามแม้ไม่เต็มใจ (
= 1.66, SD = 0.96) (3) ความรู้สึกคับข้องใจเมื่อตามแพทย์เพื่อให้มาดูแลผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
และต้องการการรักษาเร่งด่วน แต่ไม่สามารถตามแพทย์ได้ ( = 1.47, SD
= 0.76) (4) รู้สึกคับข้องใจเมื่อต้องพยายามพูดให้ครอบครัว/ญาติผู้ป่วย
รับผู้ป่วยกลับบ้านตามแผนการรักษา (
= 1.44, SD = 1.01) และ (5)
จำต้องเก็บของที่ผู้ป่วยรักและเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะเกรงว่าจะสูญหาย ( = 1.36, SD
= 0.84)
ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดอบรม
และพัฒนาทักษะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของพยาบาล เมื่อเผชิญประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชต่อไป
|