การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาระดับการจัดการภาวะเสี่ยงและปัญหาอุปสรรคการจัดการภาวะเสี่ยงของหัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวช
ในโรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิต ประชากรตัวอย่าง คือ หัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวชที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยอย่างน้อย
1 ปี จำนวน 98 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย
1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2)
แบบสอบถามการจัดการภาวะเสี่ยงตามกระบวนการจัดการภาวะเสี่ยง 4 ขั้นตอน คือ การค้นหาภาวะเสี่ยง
การประเมินภาวะเสี่ยง การกำหนดแนวทางการจัดการภาวะเสี่ยง และการประเมินผล
โดยดัดแปลงเครื่องมือการจัดการภาวะเสี่ยงของชลอ (2544)
ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลจิตเวช และ 3)
แบบสอบถามปัญหาอุปสรรคการจัดการภาวะเสี่ยงของหัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวช
เครื่องมือทั้ง 3 ส่วน ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงของแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงโดยวิธีทดสอบซ้ำ (test-retest method) ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามการจัดการภาวะเสี่ยงของหัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวช
เท่ากับ .86 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามปัญหาอุปสรรคการจัดการภาวะเสี่ยงของหัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวช
เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1.
หัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่ มีระดับการจัดการภาวะเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.63, SD
= .331) โดยคะแนนสูงสุด คือ ด้านการประเมินภาวะเสี่ยง ( = 2.73, SD
= .415) รองลงมา คือ ด้านการกำหนดแนวทางการจัดการภาวะเสี่ยง ( = 2.68, SD
= .358) ด้านการประเมินผล (
= 2.58, SD = .447) และด้านการค้นหาภาวะเสี่ยง ( = 2.53, SD
= .359) ตามลำดับ
2. หัวหน้าหอผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่
มีระดับปัญหาอุปสรรคในการจัดการภาวะเสี่ยงโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 1.51, SD
= .589) พบว่า
ด้านที่มีปัญหาอุปสรรคในการจัดการภาวะเสี่ยงคะแนนสูงสุด คือ
ด้านการประเมินภาวะเสี่ยง (
= 1.70, SD = .712) รองลงมาด้านการค้นหาภาวะเสี่ยง ( = 1.49, SD
= .608) ด้านการประเมินผล (
= 1.47, SD = .706) และด้านการกำหนดแนวทางการจัดการภาวะเสี่ยง ( = 1.40, SD
= .663) ตามลำดับ
|