Normal
0
false
false
false
EN-US
X-NONE
TH
MicrosoftInternetExplorer4
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive
research) มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการนิเทศงานและปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์
และโรงพยาบาลทั่วไป เขต 7 กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ
พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 133 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย ประกอบด้วย
การวางแผนการนิเทศ การดำเนินการนิเทศ และการประเมินผลการนิเทศ
ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย
ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน
หาความเที่ยงของแบบสอบถามโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค (Cronbach’s
Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ
เท่ากับ 0.94 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การวางแผนการนิเทศ การดำเนินการนิเทศ และการประเมินผลการนิเทศ ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.93, 0.92, 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (SPSS/FW) หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ส่วนปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการนิเทศงานที่ได้จากการตอบคำถามปลายเปิดผู้วิจัยนำมาจัดกลุ่มและเรียงลำดับ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป
เขต 7 กระทรวงสาธารณสุขใน 3 ด้าน คือ การวางแผนการนิเทศ การดำเนินการนิเทศ
และการประเมินผลการนิเทศ มีดังนี้
ด้านการวางแผนการนิเทศ
หัวหน้าหอผู้ป่วยมีการวางแผนการนิเทศงานระยะยาว ประกอบด้วย
แผนสำหรับบุคลากรใหม่ในเรื่องการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์
วิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย ตลอดจนนโยบายต่าง ๆ ภายในหอผู้ป่วย คิดเป็นร้อยละ
85.70 แผนสำหรับบุคลากรประจำการทั่วไป
ในเรื่องการประชุมกลุ่มเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติทางการพยาบาลคิดเป็นร้อยละ 78.90
แผนสำหรับการพยาบาล ในเรื่องกระบวนการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
โดยการเสริมความรู้และทักษะทางการพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 84.20
และหัวหน้าหอผู้ป่วยมีการวางแผนการนิเทศงานระยะสั้นประกอบด้วย
แผนการนิเทศประจำสัปดาห์ ในเรื่องการนิเทศบุคลากรใหม่โดยพบเป็นรายบุคคล
คิดเป็นร้อยละ 63.90 แผนการนิเทศประจำวัน ในเรื่องการปรับปรุงการมอบหมายงานให้เหมาะสม
คิดเป็นร้อยละ 69.90
และแผนการนิเทศเฉพาะงานในเรื่องการกำหนดรายการที่เป็นปัญหาที่จะนิเทศ
คิดเป็นร้อยละ 47.40
ด้านการดำเนินการนิเทศ
หัวหน้าหอผู้ป่วยมีการดำเนินการนิเทศโดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
มีค่าเฉลี่ย 3.06 และพบว่ากิจกรรมการศึกษาสภาพหรือการเยี่ยมตรวจมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด
คือ 3.29 ส่วนกิจกรรมการทำบันทึกการนิเทศประจำวัน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 2.98
ด้านการประเมินผลการนิเทศ
หัวหน้าหอผู้ป่วยมีการประเมินผลการนิเทศโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย
2.58 โดยกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 2.92
ส่วนกิจกรรมกำหนดเป้าหมายและกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
คือ 2.34
2.
ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการนิเทศงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย มีดังนี้
1) ขาดความรู้และทักษะในการนิเทศงาน 2)
มีภาระงานในความรับผิดชอบมากเกินไป
3)
มีการประชุมบ่อยเนื่องจากร่วมเป็นคณะกรรมการหลายคณะกรรมการ 4)
อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ขึ้นปฏิบัติงานไม่พอเพียง 5)
ขาดรูปแบบการนิเทศงานที่เป็นมาตรฐาน
6) ขาดเกณฑ์ชี้วัดในการประเมินผลการนิเทศ
|