รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4219
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 5/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล ของพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอังกฤษ Nursing Record Development of Staff Nurse in Post Partum Department, Khaokho Hospital,Petchabun Province
ชื่อผู้วิจัยหลัก ประคอง อินสอน
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
บุญศรี ปราบณศักดิ์
บุศรา กาญจนบัตร
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2548
บทคัดย่อ Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ แบ่งขั้นตอนการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ และขั้นประเมินผล โดยได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลแก่พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนก หลังคลอด จำนวน 6 คน วิเคราะห์สภาพการณ์ พัฒนารูปแบบการบันทึกการพยาบาล และฝึกเขียนบันทึกการพยาบาลตามรูปแบบบันทึกใหม่เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ได้เขียนบันทึกการพยาบาลในการดูแล

ผู้ป่วยใหม่ จำนวน 12 ราย มีผลการศึกษา ดังนี้

ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทำให้ทราบถึงสภาพการณ์เดิมของการบันทึกทางการพยาบาลแผนกหลังคลอด และได้พัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลให้บันทึกตามกระบวนการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ประการคือ 1)การวินิจฉัยการพยาบาล2)กิจกรรมการพยาบาล 3)การประเมินผล ภายหลังจากฝึกเขียนบันทึกทางการพยาบาลตามรูปแบบการบันทึกใหม่ พบว่า มีการบันทึกที่เป็นระบบขึ้น มีความสะดวกในการเขียนบันทึกเพราะมีแบบฟอร์มการบันทึกที่ชัดเจน บันทึกทางการพยาบาลที่ได้นั้นทำให้เห็นถึงการปฏิบัติงานของพยาบาลเพราะรูปแบบของการบันทึกแสดงให้เห็นปัญหาของผู้ป่วย กิจกรรมการพยาบาลและการประเมินผล ผลการศึกษายังชี้ว่า การเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลซึ่งเดิมต้องใช้เวลานานนั้นสามารถลดเวลาลงได้ โดยรวบรวมปัญหาทั้งหมดของผู้ป่วยหลังคลอดและวางแผนการพยาบาลไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนการพยาบาลเฉพาะราย นอกจากนี้พบว่าการกำหนดให้มีหลักการบันทึกทางการพยาบาลไว้เป็นแนวทาง มีผลให้ใช้เวลาในการบันทึกสั้นลง

ผลการศึกษานี้ช่วยให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนบันทึกทางการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาล ซึ่งเมื่อมีการบันทึกการพยาบาลที่ดี ย่อมแสดงถึงคุณภาพการพยาบาลที่ดีด้วย

 
URL
วัตถุประสงค์   Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4

เพื่อพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

 
    พิมพ์หน้านี้