รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4222
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 5/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนารูปแบบการประสานงานการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ สำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
ชื่อเรื่องอังกฤษ The Development Model of the Clinical Experience Coordination for Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Idpmthani
ชื่อผู้วิจัยหลัก ภัณทิรชา เฟื่องทอง
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
วรรณภา นิวาสะวัต
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2545
บทคัดย่อ   Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค สาเหตุรากเหง้าของปัญหา และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการประสานงาน  เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบการประสานงานการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  สำหรับนักศึกษาพยาบาล  ซึ่งรูปแบบที่ได้จะมีลักษณะเป็นรูปแบบการประสานงานแบบมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน  หมายถึงการที่ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบิตงานมีส่วนร่วมในการบริหารงาน โดยการค้นหาปัญหา อุปสรรค สาเหตุรากเหง้าของปัญหา จากนั้นร่วมกันกำหนดปัญหาที่สำคัญ และต้องแก้ไขเป็นอันดับแรก  แล้วร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้น  นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในทุกระยะ คือ  ระยะก่อน  ระหว่าง  และหลังการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการบริหารงานของกูลิค และเออร์วิค (Luther Gulick and Lyndall Urwich, 1973) และการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประสานงานการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง จากฝ่ายการศึกษา คือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี  ที่มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 14 คน  และฝ่ายบริการพยาบาล คือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติจากโรงพยาบาลอุดรธานี ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรครูคลินิก จำนวน 37 คน รวม 51 คน

            ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2 ครั้ง  ครั้งที่ 1 การหาปัญหา อุปสรรค สาเหตุรากเหง้า  และการหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการประสานงาน ผู้เข้าประชุม คือกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เพื่อให้ได้ข้อมูลจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถด้านการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ และสามารถแสดงความคิดเห็นในเรื่องการประสานงานการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติได้อย่างครอบคลุม รวมทั้งเป็นการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม ส่วนการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2   การพิจารณาร่างรูปแบบการประสานงานการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ผู้เข้าประชุมคือ ผู้บริหารระดับสูง และระดับกลาง จากฝ่ายการศึกษ จำนวน 7 คน และผู้บริหารระดับสูงจากฝ่ายบริการพยาบาล จำนวน 15 คน รวม 22 คน  เพื่อให้ได้ข้อมูลในระดับการบริหาร ที่ต้องตัดสินใจในด้านนโยบายและแผน  ในการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้งสองครั้ง  ผู้ศึกษาดำเนินการคละกลุ่มตัวอย่าง ทั้งฝ่ายการศึกษาและฝ่ายบริการพยาบาลเข้าด้วยกัน  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างจะมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นของตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  คือ การประชุมครั้งที่ 1 ใช้กระบวนการกลุ่มโนมินอล  และคำถามปลายเปิด  ส่วนการประชุมครั้งที่ 2 ใช้วิธีการสัมมนา  วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างข้อสรุปด้วยวิธีการแบบอุปนัย โดยจำแนกตามความสัมพันธ์ของกลุ่มคำ ปรากฎผลศึกษาดังนี้

ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1  ปัญหา อุปสรรค สาเหตุรากเหง้า และแนวทางแก้ไขปัญหาการประสานงาน

1.      ระยะก่อนการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ พบส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประสานงาน 7 ด้าน คือ การวางแผน  การจัดองค์การ  การจัดบุคลากร  การอำนวยการ  การประสานงาน  การรายงาน  และการงบประมาณ  โดยการประสานงานมีความสำคัญมากที่สุด  รองลงมาคือการวางแผน และสำคัญน้อยที่สุด คือ การงบประมาณ

2.      ระยะระหว่างการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ พบส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประสานงาน 5 ด้าน คือ  การจัดองค์การ  การจัดบุคลากร  การดำนวยการ  การประสานงาน  และการงบประมาณ  โดยการจัดองค์การ และการจัดบุคลากร มีความสำคัญมากที่สุดใกล้เคียงกัน และสำคัญน้อยที่สุดคือ การงบประมาณ

3.      ระยะหลังการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  พบส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประสานงาน 2 ด้าน คือ การอำนวยการ  และการรายงาน  ซึ่งพบว่า การอำนวยการมีความสำคัญมากกว่า

ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2  รูปแบบการประสานงานการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ

1.      ระยะก่อนการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  ฝ่ายการศึกษาและฝ่ายบริการพยาบาล ร่วมกันจัดองค์การ  โดยกำหนดโครงสร้างที่เอื้อต่อการประสานงานการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  ประกอบด้วยคณะกรรมการผสมจากทั้งสองฝ่าย  มีหลักกการคือ คณะกรรมการนี้ไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง อำนาจการบังคับบัญชาเดิมของทั้งสองฝ่าย  แต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารงาน  ระบุอำนาจ บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบให้ชัดเจน และแจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบ จัดประชุมร่วมกันในระดับบริหารของทั้งสองฝ่าย  ก่อนการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ 1 เดือน  เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  และเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย  รวมทั้งต่อนักศึกษา ร่วมกันพิจารณานโยบาย  วัตถุประสงค์  และการวงแผนการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติที่ฝ่ายการศึกษาได้ร่างขึ้น  วางแผนการประเมินผล  ปรับทัศนคติให้เห็นความสำคัญ และมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือกำหนดสมรรถนะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตพยาบาลศาสตร์  ร่วมกันพิจารณาจัดอัตรากำลังของทั้งสองฝ่าย ให้สอดคล้องกับหลักสูตร  รายวิชา  และจำนวนนักศึกษา  ร่วมกันพัฒนาบุคลากร ทั้งสองฝ่ายให้พร้อมต่อการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ มีความรุ้ความสามารถทั้งด้านวิชาการ ทักษะการปฏิบัติการพยาบาล และมีทัศนคติที่ดีต่อการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  ร่วมกันจัดให้มีระบบการนิเทศ และประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งสองฝ่าย  พร้อมทั้งเป็นการเปิดให้มีช่องทางการเสนอปัญหา  ความต้องการ  ข้อเสนอแนะ  ร่วมกันจัดให้มีระบบการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ  และจัดให้มีระบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ  โดยมีหนังสือเกี่ยวกับการจัดประสบกาณ์ภาคปฏิบัติให้ผู้เกี่ยวข้องเซ็นรับทราบ ก่อนการฝึกประสบการณ์ภาคปฏิบัติ 2 สัปดาห์  ร่วมกันพิจารณาคู่มือการจัดประบการณ์ภาคปฏิบัติ ที่ฝ่ายการศึกษาจัดทำขึ้น  ซึ่งคู่มือควรมีลักษณะสั้นกระชับ ประกอบด้วยข้อมูลการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  รายนามและหมายเลขโทรศัพท์ของอาจารย์นิเทศ การปฐมนิเทศ  และการประเมินผล  และร่วมกันจัดให้มีระบบสารสนเทศของทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติที่เป็นปัจจุบันเสมอ  ร่วมกันพิจารณาจัดสรรงบประมาณทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จำเป็น  และเอื้อต่อการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ

2.      ระยะระหว่างการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  ฝ่ายการศึกษาและฝ่ายบริการพยาบาลร่วมกันปฐมนิเทศนักศึกษา ผู้บริหารทั้งสองฝ่ายร่วมกันคิดตามความเหมาะสมของการจัดองค์การในการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม  โดยการเสริมสร้างสัมพันธภาพของทั้งสองฝ่าย  ได้แก่ จัดให้มีการประชุมร่วมกัน  การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  และการสันทนาการร่วมกัน จัดให้หัวหน้าหอผู้ป่วยทำหน้าที่นิเทศการปฏิบัติงานของอาจารย์นิเทศ  และอาจารย์พี่เลี้ยง  ส่งเสริมให้บุคลากรทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นผู้ช่วยเหลือ สนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพและต่อองค์กร จัดให้มีการประชุมในระดับบริหารทั้งสองฝ่าย  หลังการประชุมใหญ่ครั้งแรกประมาณ 6 เดือน และจัดให้มีการประชุมในระดับปฏิบัติการของทั้งสองฝ่ายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  จัดให้มีการบันทึกการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษร  และพิจารณาแจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบ  และทั้งสองฝ่ายตรวจสอบทรัพยากร  วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการประสานงานการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ

3.      ระยะหลังการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  จัดประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารเพื่อประเมินผลการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  และหาแนวทางในการปรับปรุงการศึกษาและการบริการพยาบาล  แจ้งผลการประเมินและแนวทางแก้ไขให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเป็นลายลักษณ์อักษร  เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงต่อไป

URL
วัตถุประสงค์   Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค สาเหตุรากเหง้าของปัญหา และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการประสานงาน  เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบการประสานงานการจัดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ  สำหรับนักศึกษาพยาบาล 
 
    พิมพ์หน้านี้