การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย
เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามกระบวนการประกันคุณภาพการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย
โรงพยาบาลศูนย์ ภาคใต้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแต่ละโรงพยาบาลโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
โดยวิธีจับฉลากแบบไม่แทนที่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 72 ราย
เก็บข้อมูลโดยการให้ตอบแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
และหาค่าความเที่ยงใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง 0.90 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มหัวหน้าหอผู้ป่วยมีการดำเนินงานตามกระบวนการประกันคุณภาพการพยาบาลโดยรวมในระดับปานกลาง
(
= 2.14, SD = 0.48) และการดำเนินงานใน 4 ขั้นตอน
มีการดำเนินงานในระดับปานกลางเช่นกัน โดยมีคะแนนเฉลี่ยตามลำดับมากน้อยดังนี้
ขั้นการปฏิบัติตามมาตรฐาน (
= 2.28, SD = 0.49) ขั้นการปรับปรุงคุณภาพ ( = 2.17, SD
= 0.53) ขั้นกำหนดมาตรฐาน (
= 2.13, SD = 0.48) และขั้นการวัดและประเมินคุณภาพ ( = 2.06, SD
= 0.59) ส่วนปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามกระบวนการประกันคุณภาพการพยาบาลทั้ง
4 ขั้นตอน พบว่าร้อยละ 57 มีปัญหาอุปสรรคในขั้นการปฎิบัติตามมาตรฐาน รองลงมา คือ
ขั้นการวัดและประเมินคุณภาพ (ร้อยละ 56) ขั้นการปรับปรุงคุณภาพ (ร้อยละ 50)
และขั้นกำหนดมาตรฐาน (ร้อยละ 39) ตามลำดับ ส่วนปัญหาอุปสรรคด้านอื่น ๆ (ร้อยละ 57)
มีปัญหาอุปสรรคที่พบมาก 3 อันดับแรก ได้แก่
การขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงานการประกันคุณภาพ (ร้อยละ 21) การมีภาระงานมาก
(ร้อยละ 18) และการไม่ให้ความสำคัญในการประกันคุณภาพ (ร้อยละ 17)
ผลการวิจัยนี้
สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วย
ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|