บทคัดย่อ
|
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถี่และความสำคัญของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม ในการบริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป
ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานบริหารในโรงพยาบาลทั่วไป
ภาคใต้ ยกเว้น 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกคน จำนวน 123 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 2 ส่วน
ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ความถี่ของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม
และความสำคัญของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม ในการบริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วย
ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน
ทดสอบความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 2 คือ
ความถี่ของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมเท่ากับ 0.98
ความสำคัญของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมเท่ากับ 0.95
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
พบว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้
มีค่าเฉลี่ยความถี่ของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในการบริหารงาน
โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (
= 2.54, SD = 1.06) เมื่อจำแนกเป็นรายขั้นตอนในการบริหารงาน
พบว่าทุกขั้นตอนมีค่าเฉลี่ยความถี่อยู่ในระดับปานกลาง โดยขั้นตอนวางแผน มีค่าเฉลี่ยความถี่ของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม ในการบริหารมากที่สุด ( = 3.13, SD = 1.02) รองลงมา คือ การจัดองค์การ ( = 2.69, SD = 1.03) การนำ (
= 2.33, SD = 1.11) และการควบคุม ( = 2.00, SD = 1.07) ตามลำดับ
ส่วนความสำคัญของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในการบริหารงาน
มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (
= 3.63, SD = 0.84) และเมื่อจำแนกเป็นรายขั้นตอนในการบริหารงาน
พบว่าทุกขั้นตอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
โดยขั้นตอนวางแผนมีค่าเฉลี่ยความสำคัญของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในการบริหารงานมากที่สุด
( = 3.85, SD
= 0.65) รองลงมา คือ การจัดองค์การ
( = 3.72, SD
= 0.75) การควบคุม (
= 3.50, SD = 1.0) และการนำ (
= 3.44, SD = 0.92) ตามลำดับ
ค่าเฉลี่ยความถี่
และความสำคัญของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม 5 อันดับแรก คือ ต้องการวางแผนจัดหาบุคลากรเพิ่ม
เพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ
แต่ก็ไม่ต้องการขัดกับนโยบายของโรงพยาบาลที่ต้องการประหยัดงบประมาณ (ความถี่:
= 3.67, SD = 1.26;
ความสำคัญ: = 4.20, SD = 0.84) ต้องการวางแผนประหยัดทรัพยากรที่มีจำกัดให้แก่โรงพยาบาล
แต่ก็ไม่ต้องการขัดกับความต้องการในการใช้ทรัพยากรอย่างเพียงพอของบุคลากร (ความถี่: = 3.54, SD = 1.18; ความสำคัญ: = 3.97,
SD = 0.85) ต้องการวางแผนพัฒนาบุคลากรโดยให้ลาศึกษาต่อ
แต่ก็เกรงว่าอัตรากำลังจะไม่พอต่อการทำงานที่มีคุณภาพ (ความถี่: = 3.28, SD = 1.32; ความสำคัญ: = 3.97,
SD = 0.98) มีการวางแผนด้านงบประมาณในหน่วยงาน
เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการ แต่ไม่มีอำนาจในการเจรจาต่อรองด้านงบประมาณ (ความถี่:
= 3.17, SD = 1.31;
ความสำคัญ: = 3.80, SD = 1.02)
ต้องการกำหนดแนวปฏิบัติให้สำรองอุปกรณ์ที่มีอยู่จำกัดสำหรับหอผู้ป่วย แต่ก็เกรงว่าจะมีปัญหากับหน่วยงานอื่นที่ต้องการยืมอุปกรณ์ดังกล่าว
เพื่อการดูแลผู้ป่วยทีดี (ความถี่:
= 2.99, SD = 1.43; ความสำคัญ: = 3.58, SD = 1.09)
ผลการศึกษาครั้งนี้จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้บริหาร
ที่จะนำข้อมูลเกี่ยวกับความถี่และความสำคัญของประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม
มาเป็นแนวทางแก้ไขประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในการบริหารงาน
และเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการบริหารงาน
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการและองค์การ
|