การวิจัยเชิงบรรยายนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการปกปิดความลับผู้ป่วย
ขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ จังหวัดสงขลา โดยประชากรกลุ่มเป้าหมาย
คือ
พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหอผู้ป่วยและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหอผู้ป่วยอย่างน้อย
1 ปี จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และส่วนที่ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับ
การจัดการในการปกปิดความลับผู้ป่วยตามวงจรเดมมิ่ง (ระดับการจัดการ 0 - 5)
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปกปิดความลับ และการจัดการตามวงจรเดมมิ่งอัน ได้แก่
การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการดำเนินการให้เหมาะสม
ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน
และหาความเที่ยงของเครื่องมือโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s
alpha coefficient) ของแบบสอบถามส่วนที่ 2 ได้ค่าความเที่ยง 0.94
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการจัดการโดยรวม
ในการปกปิดความลับผู้ป่วยขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.0, SD = 1.14) และเมื่อแจกแจงตามขั้นตอน พบว่าขั้นปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ( = 3.78, SD = 0.96) ส่วนขั้นอื่นการจัดการอยู่ในระดับปานกลาง
คือ ขั้นตรวจสอบ (
= 2.98, SD = 1.25) ขั้นวางแผน ( = 2.70, SD = 1.31) กำหนดแนวปฏิบัติการให้ข้อมูลทางโทรศัพท์เพื่อรักษาความลับผู้ป่วย
( = 3.62, SD
= 1.58)
เมื่อพิจารณารายข้อ
พบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 อันดับแรก ขั้นวางแผนอยู่ในระดับมาก ได้แก่
จัดเตรียมสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการอภิปราย/ปรึกษาหารือ เพื่อวางแผนการดูแลผู้ป่วยที่มีโอกาสพาดพิงถึงข้อมูลที่เป็นความลับ
( = 3.84, SD
= 1.38) กำหนดแนวปฏิบัติการให้ข้อมูลทางโทรศัพท์เพื่อรักษาความลับผู้ป่วย
( = 3.62, SD
= 1.58)
ค่าเฉลี่ยสูงสุด
2 อันดับแรก ขั้นปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่
ให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษต่อกลุ่มผู้ป่วยที่มีโอกาสสูงต่อการถูกเปิดเผยความลับ
เช่น ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยคดี ผู้ป่วยโดนข่มขืน ( = 4.40, SD = 0.93) ไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วย
( = 4.31, SD
= 1.16)
ค่าเฉลี่ยสูงสุด
2 อันดับแรก ขั้นตรวจสอบอยู่ในระดับมาก ได้แก่
สังเกตพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเปิดเผยความลับผู้ป่วยของบุคลากรในหอผู้ป่วยในการสนทนากับ
ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เป็นความลับผู้ป่วย ( = 3.85, SD = 1.14) สังเกตพฤติกรรมของบุคลากรในหอผู้ป่วยที่อาจทำให้ความลับผู้ป่วยถูกเปิดเผยในการให้ข้อมูลของผู้ป่วยทางโทรศัพท์แก่ผู้อื่น
( = 3.66, SD
= 1.30) และค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 อันดับแรก
ขั้นดำเนินการให้เหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่
นำผลการประเมินมากำหนด/ปรับปรุงแนวทางในการให้ข้อมูลทางโทรศัพท์
เพื่อรักษาความลับผู้ป่วย (
= 3.0, SD = 1.77)
นำผลการประเมินมากำหนด/ปรับปรุงแนวทางในการรับ-ส่ง
เพื่อป้องกันความลับผู้ป่วยถูกเปิดเผย (
= 2.90, SD = 1.75)
ผลการศึกษาในครั้งนี้
สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการกำหนดแนวทางการจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการปกปิดความลับผู้ป่วย
ขณะพักรักษาในโรงพยาบาลต่อไป
|