การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ
และเปรียบเทียบความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของหัวหน้าหอผู้ป่วย
กับพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 214 คน ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วย
107 คน และพยาบาลประจำการ 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และ 2) แบบประเมินความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค
ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสถานการณ์ในภาคใต้
และจากแนวคิดการฟันฝ่าอุปสรรคจากกรอบแนวคิดของสตอลทซ์ (Stoltz, 1997) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และตรวจหาความเที่ยงได้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค
(Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.95
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถานการณ์ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค
จำนวน 10 สถานการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าทีอิสระ (independent t
- test) ผลการวิจัยพบว่า
1. หัวหน้าหอผู้ป่วยส่วนใหญ่
ร้อยละ 54.2 – 62.6
มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทุกด้าน ดังนี้: ร้อยละ 62.6 มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคด้านการเข้าสู่ปัญหาอย่างมีสติ
อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.81 (SD = .78) ร้อยละ 58.96 มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคด้านการรับรู้ต้นเหตุ
และความรับผิดชอบต่อปัญหาอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 (SD
= .75) ร้อยละ 57 มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคด้านความอดทน
อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 (SD = .77) และร้อยละ 54.2
มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคด้านการควบคุม อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 (SD = .84)
2. ในกลุ่มของพยาบาลประจำการ
ร้อยละ 46.8 – 68.3 มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคแต่ละด้านอยู่ในระดับค่อนข้างสูงทุกด้าน
ดังนี้: ร้อยละ 68.3 มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค
ด้านการรับรู้ต้นเหตุและความรับผิดชอบต่อปัญหาอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 (SD = .76) ร้อยละ 61.7
มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคด้านการเข้าสู่ปัญหาอย่างมีสติอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 (SD = .77) ร้อยละ 55.1
มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคด้านการควบคุมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 (SD = .83) และร้อยละ 46.8
มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคด้านความอดทนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 (SD = .73)
3. จากการเปรียบเทียบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค
ระหว่างหัวหน้าหอผู้ป่วยกับพยาบาลประจำการ
ในโรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทั้งโดยรวมและรายด้าน
ผลการวิจัยครั้งนี้
สามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางสนับสนุน และส่งเสริมบุคลากรในองค์การในการปฏิบัติงานภายใต้ความกดดันให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ
อันนำมาซึ่งประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลต่อไป
|