รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1357
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 8/9/2553
ชื่อเรื่องไทย รูปแบบการตัดสินใจในการบริหารงานบุคคลของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้
ชื่อเรื่องอังกฤษ Decision-Making Model in Personnel Management of Head Nurses in General Hospitals, Southern Thailand
ชื่อผู้วิจัยหลัก ยวงพร ป้อมสกุล
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ไม่พบข้อมูล
สังกัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
   
ปี 2550
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตัดสินใจในการบริหารงานบุคคลของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้ ที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานในตำแหน่งตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดรูปแบบการตัดสินใจของเวลล์ (Well, 1996) และการบริหารงานบุคคลของ ดิเซนโซ่และรอบบิ้น (Decenzo & Robbins, 2001) โดยแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป มีลักษณะเป็นคำถามเลือกตอบและเติมคำ ส่วนที่ 2) ข้อมูลการจัดอันดับการใช้รูปแบบการตัดสินใจในการบริหารงานบุคคล มีลักษณะเป็นคำถามปลายปิด เครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาความเที่ยงของเครื่องมือส่วนที่ 2 โดยการหาค่าคงที่ของการวัดซ้ำ (test-retest) ได้ค่าความสอดคล้องเท่ากับร้อยละ 71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัยพบว่า หัวหน้าหอผู้ป่วยมีการใช้รูปแบบการตัดสินใจ โดยใช้มติกลุ่มในการบริหารงานบุคคลมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง คือ อยู่ในช่วงร้อยละ 26.7 – 68.1 โดยพบว่าทุกด้านมีการใช้รูปแบบการตัดสินใจโดยใช้มติกลุ่มมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ดังนี้ ด้านการวางแผนงานบุคคลร้อยละ 51.1 – 64.4 ด้านการสรรหา/ลดคน และคัดเลือกบุคลากรร้อยละ 42.2 – 58.5 ด้านการปฐมนิเทศร้อยละ 57.0   ด้านการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรร้อยละ 26.7 – 68.1  ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานร้อยละ 49.6 – 59.3 ด้านการจ่ายค่าตอบแทนและให้ผลประโยชน์ร้อยละ 41.5 – 68.1 และด้านการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรร้อยละ 55.6 – 65.2

                ผู้บริหารทางการพยาบาล สามารถนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการตัดสินใจของหัวหน้าหอผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมให้หัวหน้าหอผู้ป่วยมีการบริหารจัดการงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้รับบริการและองค์กร

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษารูปแบบการตัดสินใจในการบริหารงานบุคคลของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้
 
    พิมพ์หน้านี้