รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4229
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 9/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ โรงพยาบาลหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอังกฤษ The Development of Operative Visiting Model of Inguinal Herniorraphy Nongphai Hospital Petchaboon Province
ชื่อผู้วิจัยหลัก กนกพร บุญประเสริฐ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
วรรณชนก จันทชุม
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2549
บทคัดย่อ   Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4

การศึกษาอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด

ไส้เลื่อนขาหนีบ โรงพยาบาลหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ พยาบาลที่

ปฏิบัติงานห้องผ่าตัด จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามประเมินความ

พึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นตามขั้นตอนของการสร้าง

เครื่องมือ คือ การศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ

(content validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงของ

เครื่องมือ (reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87 ขั้นตอนการพัฒนา

มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผนและเตรียมการโดยการตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพงานห้อง

ผ่าตัด เพื่อประเมินปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุ และจัดทำโครงการ 2) ขั้นดำเนินการ จัดประชุม

ระดมสมองพยาบาลห้องผ่าตัด 3) ขั้นตรวจสอบ 4) ขั้นประเมินผล โดยนำรูปแบบการเยี่ยมไป

ทดลองใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบโรงพยาบาลหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์

จำนวน 10 ราย แล้วตรวจสอบการใช้เป็นระยะๆทุกเดือนและประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อ

รูปแบบการเยี่ยม

 

ผลการศึกษา

1. ได้รูปแบบการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ โรงพยาบาลหนองไผ่

จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย แบบฟอร์มการเยี่ยม คำชี้แจงการกรอกแบบฟอร์มการเยี่ยม

เอกสารการเยี่ยม และแนวทางปฏิบัติในการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบที่มีการ

กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเยี่ยมที่ชัดเจน

2. ผลการนำรูปแบบการเยี่ยมไปทดลองใช้และประเมินผลความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับ

การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ จำนวน 10 ราย พบว่า มีการใช้รูปแบบการเยี่ยมทุกราย ค่าเฉลี่ยความ

พึงพอใจของผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ยกเว้นการเยี่ยมผู้ป่วยระยะก่อนผ่าตัด และ

การให้ข้อมูลเรื่องการถอดฟันปลอมและเครื่องประดับ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจ

ปานกลาง จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรมีการสร้างรูปแบบการเยี่ยมผู้ป่วยใน

โรคอื่นๆ และมีการประเมินผลการใช้เป็นระยะๆทุก 1 เดือน เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

URL
วัตถุประสงค์   Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4

เพื่อพัฒนารูปแบบการเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ โรงพยาบาลหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์

 
    พิมพ์หน้านี้