รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4231
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 9/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนารูปแบบงานให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติสำหรับพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 2 กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี
ชื่อเรื่องอังกฤษ Development of Information Model Providing to the Client for Nurses in Surgery 2 Intensive Care Unit, Surgery Department Udonthani Hospital
ชื่อผู้วิจัยหลัก คะนึงนิตย์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
บุศรา กาญจนบัตร
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2552
บทคัดย่อ   Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4

การศึกษาอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติสำหรับพยาบาล ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 2 กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มเป้าหมาย คือ พยาบาลในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 2 จำนวน 10 คน ดำเนินการพัฒนาโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการและใช้กระบวนการกลุ่มระดมสมอง ในการจัดทำรูปแบบการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบวัดความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ตรวจสอบถความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และหาความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ โดย KR-20 ได้เท่ากับ 0.83 หาความเชื่อมั่นของทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและซติ โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 และ 0.91 ตามลำดับ  และการใช้เครื่องมือประเมินความวิตกกังวล ของสปิลเบอร์เกอร์ และคณะ วัดความวิตกกังวลของญาติ ดำเนินการพัฒนาโดยใช้กระบวนการ PDCA  เก็บข้อมูลทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติก่อนดำเนินการและหลังการใช้รูปแบบการให้ข้อมูลที่พัฒนาเป็นเวลา 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการศึกษา พบว่าก่อนการพัฒนา ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ การให้ข้อมูลของพยาบาลไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ญาติมีความวิตกกังวลสูง (เฉลี่ย 63.67 ต่ำสุด 46 สูงสุด 76)  หลังการทดลองใช้รูปแบบใหม่เป็นเวลา 1 เดือน นำมาสรุปเป็นรูปแบบการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติดังนี้

            ใช้กระบวนการ PDCA ในการดำเนินการ โดยประเมินสภาพการณ์การให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติ อบรมเชิงปฎิบัติการสร้างแนวทาง และพัฒนาบริบทที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติได้แก่  1) การจัดสถานที่สำหรับการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติอย่างเหมาะสม  2) การจัดบุคลากรสำหรับการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติ และระบบการให้ข้อมูล ประเมินผลการดำเนินการพบว่า พยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติเพิ่มขึ้น (ก่อนการพัฒนา X = 27.3  S.D. = 0.16 หลังการพัฒนา  X = 2.97  S.D. = 0.18)  มีการปฏิบัติกิจกรรมการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติที่ถูกต้องมากขึ้น  (ก่อนการพัฒนา X = 4.13  S.D. = 0.67 หลังการพัฒนา X = 4.38  S.D. = 0.58)  และมีทัศนคติต่อการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติดีขึ้น (ก่อนการพัฒนา X = 3.96  S.D. = 0.97 หลังการพัฒนา X = 4.50 S.D. = 0.79)  ความวิตกกังวลของญาติผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับข้อมูลก่อนการดำเนินการกับกลุ่มที่ได้รับข้อมูลหลังดำเนินการมีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (P<0.01) (ก่อนการดำเนินการ X = 63.67 SD = 9.75 หลังการดำเนินการ X = 45.73 SD = 6.08)

URL
วัตถุประสงค์   Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติสำหรับพยาบาล ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม 2 กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี
 
    พิมพ์หน้านี้