Normal
0
false
false
false
EN-US
X-NONE
TH
MicrosoftInternetExplorer4
การศึกษาอิสระครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสารสนเทศที่ใช้ในการวางแผน
งบประมาณของกลุ่มงานการพยาบาล
โรงพยาบาลมหาสารคาม ประชากรที่ศึกษาคือผู้บริหารการ
พยาบาล จำนวน 37 คน
การดำเนินการศึกษา
มี
3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ และขั้นประเมินผล
ในขั้นเตรียมการทำการสำรวจปัญหาในการวางแผนงบประมาณของกลุ่มงานการพยาบาล
โรงพยาบาลมหาสารคาม
โดยใช้วิธีการสุ่มผู้บริหารการพยาบาลแบบเจาะจงตามตำแหน่ง จำนวน
8 คน เพื่อสัมภาษณ์ในช่วงวันที่
2-3 เมษายน 2545 ขั้นดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้
กับผู้บริหารการพยาบาลทั้งหมด
ซึ่งมีจำนวน
37 คน โดยใช้กระบวนการกลุ่มโนมินอล เพื่อร่วม
กันกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำแผนงบประมาณประจำปีของกลุ่มงานการพยาบาล
หลังจาก
นั้นนำขั้นตอนและวิธีการจัดทำแผนที่ได้จากการประชุมกลุ่มมาสรุปรวบรวมเป็นคู่มือประกอบการ
วางแผนงบประมาณประจำปี
หลังจากนั้นได้จัดประชุมชี้แจงการใช้คู่มือประกอบการวางแผนงบ
ประมาณดังกล่าวให้แก่ผู้บริหารการพยาบาลจนเป็นที่เข้าใจ
พร้อมทั้งแจกคู่มือประกอบการวาง
แผนงบประมาณประจำปีให้นำไปใช้ประกอบในการจัดทำแผนงบประมาณปี 2546 ของหน่วยงาน
ผู้บริหารการพยาบาลของกลุ่มงานการพยาบาลใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการวางแผนงบ
ประมาณและรวบรวมแผนทั้งหมด
ส่งกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและวิชาการ (พคบว.) ในขั้น
ประเมินผล มีการประเมินผลการใช้คู่มือประกอบการวางแผนงบประมาณประจำปีและประเมิน
ความเข้าใจ ความสามารถของผู้บริหารการพยาบาลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
ร่วมกับ
การวิเคราะห์แผนงบประมาณที่หน่วยงานจัดทำส่งกลุ่มงานการพยาบาล
โดยใช้แบบวิเคราะห์การ
จัดทำแผนงบประมาณโรงพยาบาลมหาสารคาม
ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
ในการศึกษาครั้งนี้ใช้เวลาศึกษาตั้งแต่เดือนเมษายน
ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 รวม
เวลาทั้งสิ้น 7 เดือน ผลการศึกษาพบว่า ในขั้นเตรียมการพบปัญหาในการวางแผนงบประมาณที่
ผ่านมา ดังนี้ 1) ขาดหลักการที่ถูกต้องในการวางแผนงบประมาณ 2) ไม่มีระบบในการเก็บรวบ
รวมข้อมูลเพื่อใช้ประกอบในการวางแผนงบประมาณ 3) ไม่มีการกำหนดขั้นตอนและแนวทาง
ปฏิบัติในการจัดทำแผนงบประมาณและการส่งแผนงบประมาณที่ชัดเจน 4) ขาดการประสานแผน
งบประมาณและผู้รับผิดชอบของกลุ่มงานการพยาบาลโดยตรง 5) ขาดความรู้ความเข้าใจในการ
แยกประเภทของวัสดุครุภัณฑ์และการประมาณการราคาวัสดุครุภัณฑ์ที่ถูกต้อง 6) ขาดความเข้าใจ
ในการใช้แบบฟอร์มในการวางแผนงบประมาณ 7) ขาดความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์
ในการวางแผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน 8) มีปัญหาเกี่ยวกับเวลาในการวางแผนงบ
ประมาณประจำปี ซึ่งต้องจัดทำอย่างเร่งรีบ
เมื่อได้รับแจ้งให้ส่งแผนงบประมาณ
ในขั้นดำเนินการ
จากกระบวนการกลุ่มในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับ
ขั้นตอนในการวางแผนงบประมาณของกลุ่มงานการพยาบาล
โรงพยาบาลมหาสารคามทั้งหมด
6 ขั้นตอน ดังนี้
1) ศึกษาปัญหาและความต้องการโดยการรวบรวมข้อมูล สำรวจ วิเคราะห์ และ
ประเมินปัญหา 2) จัดลำดับความสำคัญของปัญหา 3) กำหนดยุทธศาสตร์
4) เขียนแผนงาน
และโครงการ ซึ่งจะรวมถึงการวางแผนติดตาม
ประเมินผล สรุปรายงานและการปรับปรุงแผน
5) นำเสนอแผนงบประมาณของหน่วยงานต่อผู้บริหารกลุ่มงานการพยาบาล
พร้อมทั้งแจ้งข้อสรุป
ของแต่ละหน่วยงานทราบก่อนนำส่ง 6) ขออนุมัติแผนระดับโรงพยาบาลก่อนที่จะดำเนินการต่อ
ไป และในขั้นดำเนินการนี้
ได้จัดทำคู่มือประกอบการวางแผนงบประมาณประจำปีพร้อมแนวทาง
ปฏิบัติด้วย
ในขั้นประเมินผล
พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ครอบคลุม ชัดเจน
ของคู่มือประกอบการวางแผนงบประมาณประจำปีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
สำหรับระดับความ
เข้าใจและระดับความสามารถของผู้บริหารการพยาบาลในการวางแผนงบประมาณในภาพรวมอยู่
ในระดับปานกลาง
ส่วนผลการวิเคราะห์แผนงบประมาณเกี่ยวกับความถูกต้อง
ครบถ้วน ชัดเจน พบว่า
หน่วยงานยังมีปัญหาในการวางแผนงบลงทุนหมวดครุภัณฑ์
เกี่ยวกับ ขนาด รายการ ราคาต่อ
หน่วย ลำดับความสำคัญและประเภทครุภัณฑ์
ส่วนแผนงบลงทุนหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างยังมี
ปัญหาเกี่ยวกับ ขนาด
ประเภท รายการ พื้นที่ใช้สอยและราคาต่อหน่วย สำหรับแผนปฏิบัติการยัง
มีปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดผลผลิต
วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและเกณฑ์
|