การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ปัจจัยจูงใจ
ระดับการปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพ
และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยจูงใจและการปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพ
ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนในเครือบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลระดับปฏิบัติการ
ซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้นไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป จำนวน 120 คน
เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบไม่แทนที่
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย
3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2
แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ปัจจัยจูงใจของพยาบาล ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบสอบถามของ
ปวีณา (2546) ที่ใช้กรอบแนวคิดของแอลเดอร์เฟอร์ (Alderfer, 1972) และส่วนที่ 3 แบบสอบถามระดับการปฎิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพ
ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดมาตรฐานการบริการพยาบาลของกองการพยาบาล (2542) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s
alpha coefficient) ของแบบสอบถามปัจจัยจูงใจ ด้านการดำรงชีวิต
เท่ากับ 0.95 และความเที่ยงของแบบสอบถามการปฎิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพ เท่ากับ
0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย การแจกแจงความถี่
หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1.
พยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนในเครือบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ
มีการรับรู้ปัจจัยจูงใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.52, SD = .48)
2.
พยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนในเครือบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ มีการปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับ
( = 3.25, SD
= .48)
3. ปัจจัยจูงใจด้านการดำรงชีวิต ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพ
(r = .005, p > .05)
4.
ปัจจัยจูงใจด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .26, p < .01)
5.
ปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน/การเติบโต มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพทางบวกในระดับต่ำ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .20, p < .05)
ผลการศึกษาครั้งนี้
สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการหาแนวทางสร้างแรงจูงใจของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลเอกชน ในการปฎิบัติงานบริการพยาบาลที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคนและแต่ละสถานการณ์ เกิดความสำเร็จต่องาน
องค์การ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ
|