Normal
0
false
false
false
MicrosoftInternetExplorer4
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับอุปนิสัยเชิงรุกในการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งผู้อำนวยการ
และรองผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกทุกแห่ง จำนวน
29 แห่ง ที่ดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด
ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 96 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 2 ส่วน
คือ (1) แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล (2) แบบสอบถามอุปนิสัยเชิงรุกในการบริหารงาน
เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้กรอบแนวคิดของ โควี่ (Covey,
1989) ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านการรู้ตนเอง ด้านการสร้างจินตนาการ
ด้านการมีมโนธรรม และด้านความประสงค์อิสระ หาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3
ท่าน และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามอุปนิสัยเชิงรุก
โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96
และรายด้านมีค่าความเที่ยง 0.86 – 0.94
และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี
ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยของอุปนิสัยเชิงรุกในการบริหารงาน โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 3.41, SD = 0.34)
ส่วนค่าคะแนนเฉลี่ยของอุปนิสัยเชิงรุกในการบริหารงานของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
รายด้านอยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยพบว่าด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเรียงตามลำดับ
คือ ด้านการมีมโนธรรม (
= 3.62, SD = 0.35) ด้านการมีความประสงค์อิสระ ( = 3.45, SD = 0.45) ด้านการรู้ตนเอง (
= 3.36, SD = 0.39) และด้านการสร้างจินตนาการ ( = 3.25, SD = 0.43)
จากผลการวิจัย
สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอุปนิสัยเชิงรุกด้านการบริหาร งานของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
เป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมตัวเป็นผู้บริหาร
และเป็นแนวทางให้นักวิจัยนำไปศึกษาเพิ่มเติม
เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับอุปนิสัยเชิงรุกด้านการบริหารงานของผู้บริหารองค์การต่อไป
|