การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการรับรู้สมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย
ในโรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานในตำแหน่งไม่น้อยกว่า 1
ปี จำนวน 101 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ส่วนที่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2) ระดับสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย
ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้กรอบแนวคิดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของแคมพินฮา – บาโคท (compinha-Bacote, 2002)
แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3
ท่าน หาความเที่ยงของเครื่องมือส่วนที่ 2 โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค
ได้ค่าความเที่ยง .93 วิเคราะห์ข้อมูล การแจกแจงความถี่
หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสมรรถนะในระดับชำนาญทางวัฒนธรรม ร้อยละ 71.29 รองลงมาร้อยละ 26.73 มีสมรรถนะในระดับเชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมและมีความตระหนักทางวัฒนธรรมร้อยละ 1.98
ตามลำดับ
และไม่มีผู้ที่ไม่มีสมรรถนะทางวัฒนธรรม
ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้
เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย
เพื่อให้บริการอย่างมีความรู้ ความเข้าใจ
และมีทักษะในการดูแลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้รับบริการ
|