รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1394
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 10/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยหัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
ชื่อเรื่องอังกฤษ Patient Community Hospitals, Southern Thailand
ชื่อผู้วิจัยหลัก มรกต วรธรรมาทิพย์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ไม่พบข้อมูล
สังกัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
   
ปี 2551
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยหัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนภาคใต้และระดับของปัจจัยส่งเสริมเชิงระบบต่อการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง คือหัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนภาคใต้ จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ส่วน คือ 1)  แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปทั่วไป  2)  แบบสอบถามการจัดการความปลอดภัย  3)  แบบสอบถามด้านปัจจัยส่งเสริมเชิงระบบต่อการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการจัดการความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (2551)  วงจรเดมมิ่ง และแนวคิดปัจจัยที่มีทำให้เกิดความปลอดภัยของผู้ป่วย (สรรธวัช, 2546) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และความเที่ยงของแบบสอบถามต่อการจัดการความปลอดภัยและปัจจัยส่งเสริมเชิงระบบโดยใช้ สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96  และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยหัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 3.93, SD = 0.50) และเมื่อพิจารณาแต่ละขั้นตอนพบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับสูง 3 ขั้นตอน คือ การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยเมื่อมีการรับใหม่ (M = 4.26 , SD = 0.45)  2)  มีการประเมินอาการ (M = 3.81 , SD = 0.64)  และ 3)  การดูแลผู้ป่วย (M = 4.53, SD = 0.53) ส่วนขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มี 1 ขั้นตอนคือ การจำหน่ายออกจากแผนก (M = 3.58 , SD = 0.67) และปัจจัยส่งเสริมเชิงระบบโดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (M = 3.88, SD = 0.57) ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินให้มีความสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรต่อไป

URL
วัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาระดับการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยหัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนภาคใต้และระดับของปัจจัยส่งเสริมเชิงระบบต่อการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย
 
    พิมพ์หน้านี้