รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 1395
ผู้กรอกข้อมูล Wipada Kunaviktikul
วันที่กรอกข้อมูล 10/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ
ชื่อเรื่องอังกฤษ Building Nurses and Registered Nurses in General Hospitals, Southern Thailand
ชื่อผู้วิจัยหลัก รุ่งทิพย์ อุดมวิเศษสันต์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ไม่พบข้อมูล
สังกัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน วิทยานิพนธ์
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
   
ปี 2551
บทคัดย่อ  

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยหัวหน้าหอผู้ป่วย ระหว่างการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับการรับรู้ของพยาบาลประจำการ กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ ในโรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้ ที่มีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปี จำนวนกลุ่มละ 100  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและแบบสอบถามการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย ตามกรอบแนวคิดของซอร์ร่าและนีวา      ( Sorra & Nieva, 2004) และทดสอบค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค           ( Cronbach’s alpha coefficient)  แบบสอบถามการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และ0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติทีอิสระ

ผลการวิจัยพบว่า หัวหน้าหอผู้ป่วยรับรู้การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยมีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวม สูงกว่าการรับรู้ของพยาบาลประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และรายด้านสูงกว่าการรับรู้ของพยาบาลประจำการ 3 ด้าน คือ ด้านการแก้ไขความผิดพลาด ด้านการให้ข้อมูลย้อนกลับการสื่อสารเกี่ยวกับความผิดพลาด และด้านการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูล

ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประเมินความสามารถของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดการบริการพยาบาลที่มีคุณภาพต่อไป

URL
วัตถุประสงค์   เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยหัวหน้าหอผู้ป่วย ระหว่างการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับการรับรู้ของพยาบาลประจำการ
 
    พิมพ์หน้านี้