รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 6057
ผู้กรอกข้อมูล สุพิศ รุ่งเรืองศรี
วันที่กรอกข้อมูล 10/9/2553
ชื่อเรื่องไทย เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาล แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลสูงเม่น จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอังกฤษ Time Spent on Tasks Performance Among Nursing Personnel of Inpatient Department, Sung Men Hospital, Phrae Province
ชื่อผู้วิจัยหลัก กาญจนา มณีกาศ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ศิริพร สิงหเนตร
รวิวัลย์ วงศ์ลือเกียรติ
สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2550
บทคัดย่อ

การศึกษาปริมาณเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดสรรบุคลากรพยาบาลในหน่วยงานให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาลในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง กิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อม  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน กิจกรรมที่เกี่ยวกับเอกสารและรายงาน กิจกรรมส่วนตัว กิจกรรมการรับผู้ป่วยใหม่ และกิจกรรมการจำหน่ายผู้ป่วย และอัตราส่วนปริมาณงานทั้งหมดในแต่ละเวร ประชากรที่ศึกษาเป็นบุคลากรพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ในแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลสูงเม่น จำนวน 17 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่นอนรักษาในแผนกผู้ป่วยในระหว่าง 1 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549  จำนวน 386 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย เครื่องมือจำแนกประเภทผู้ป่วยของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลสูงเม่นที่ประยุกต์มาจากกองการพยาบาล พ.ศ. 2539 แบบบันทึกการจำแนกประเภทผู้ป่วย คู่มือการสังเกตลักษณะการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง คู่มือการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลนอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง คู่มือการรับใหม่ คู่มือการจำหน่าย แบบบันทึกการสังเกตลักษณะการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลนอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง แบบบันทึกการรับใหม่ แบบบันทึกการจำหน่าย ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาของคู่มือการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลนอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง คู่มือการรับใหม่ และคู่มือการจำหน่ายเท่ากับ 0.99 , 0.99, 1 และ 1 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงระหว่างผู้สังเกต ในการจำแนกประเภทผู้ป่วยและการสังเกตขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงของบุคลากรพยาบาลเท่ากับ 0.91 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า

1.        บุคลากรพยาบาลใช้เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง ใน 24 ชั่วโมง เฉลี่ยเท่ากับ 8.34

ชั่วโมง โดยใช้เวลาเฉลี่ยในผู้ป่วยแต่ละประเภทดังนี้

                ผู้ช่วยที่มีอาการหนักมาก (1) เท่ากับ 4.05 ชั่วโมง

                ผู้ช่วยที่มีอาการหนัก (2) เท่ากับ 2.60 ชั่วโมง

                ผู้ช่วยที่มีอาการหนักปานกลาง (3) เท่ากับ 1.00 ชั่วโมง

                ผู้ป่วยที่มีอาการเบา (อยู่ในระยะพักฟื้น) (4) เท่ากับ 0.69 ชั่วโมง

2.        เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อมของบุคลากรพยาบาลในผู้ป่วยทั้งหมดใน 24

ชั่วโมง เฉลี่ยเท่ากับ 5.10 ชั่วโมง โดยใช้ เวลาเฉลี่ยในเวรเช้าเท่ากับ 1.85 ชั่วโมงเวรบ่ายเท่ากับ 1.66 ชั่วโมง และเวรดึกเท่ากับ 1.59 ชั่วโมง

3.        เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ของบุคลากรพยาบาลใน 24 ชั่วโมง ใช้เวลา

เฉลี่ยเท่ากับ 0.99 ชั่วโมง โดยเวรเช้าใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 0.71 ชั่วโมง เวรบ่าย ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 0.15 ชั่วโมง เวรดึกใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 0.13 ชั่วโมง

4.        เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับเอกสารและรายงาน ของบุคลากรพยาบาล

ใน 24 ชั่วโมง ใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ  3.93 ชั่วโมง  โดยเวรเช้าใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 1.43 ชั่วโมง เวรบ่ายใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 1.46 ชั่วโมง  เวรดึกใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 1.04 ชั่วโมง

5.        เวลาที่ใช้ในกิจกรรมส่วนตัว ของบุคลากรพยาบาลใน 24 ชั่วโมงใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 ชั่วโมง

โดยเวรเช้าใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 1.35 ชั่วโมง เวรบ่ายใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 1.34 ชั่วโมง เวรดึกใช้เวลาเฉลี่ยเท่ากับ 1.39 ชั่วโมง

6.       เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลการรับผู้ป่วยใหม่ของบุคลากรพยาบาลใช้เวลาเฉลี่ยต่อ

ผู้ป่วย 1 รายเท่ากับ 0.58 ชั่วโมง และในรอบ 24 ชั่วโมง ใช้เวลาในเวรเช้าเฉลี่ยเท่ากับ 2.76 ชั่วโมง เวรบ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 1.73 ชั่วโมง และเวรดึกเฉลี่ยเท่ากับ 0.31 ชั่วโมง

7.        เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลการจำหน่ายผู้ป่วยของบุคลากรพยาบาลใช้เวลาเฉลี่ยต่อ

ผู้ป่วย  1 ราย เท่ากับ 0.47 ชั่วโมง และในรอบ 24 ชั่วโมง ใช้เวลาในเวรเช้าเฉลี่ยเท่ากับ 1.43 ชั่วโมง เวรบ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 0.37 ชั่วโมง และเวรดึกเฉลี่ยเท่ากับ 0.03 ชั่วโมง

8.       สัดส่วนปริมาณงานทั้งหมดของเวรเช้า เวรบ่ายเวรดึกเท่ากับ 37.69 : 32.73 : 29.71

ผลการศึกษาครั้งนี้คาดว่า สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงระบบการมอบหมายและการ

จัดสรรบุคลากรพยาบาลในการให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานต่อไป

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาลในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง กิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อม  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน กิจกรรมที่เกี่ยวกับเอกสารและรายงาน กิจกรรมส่วนตัว กิจกรรมการรับผู้ป่วยใหม่ และกิจกรรมการจำหน่ายผู้ป่วย และอัตราส่วนปริมาณงานทั้งหมดในแต่ละเวร
 
    พิมพ์หน้านี้