รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 6067
ผู้กรอกข้อมูล สุพิศ รุ่งเรืองศรี
วันที่กรอกข้อมูล 10/9/2553
ชื่อเรื่องไทย เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาล หน่วยงานวิสัญญี โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
ชื่อเรื่องอังกฤษ Time Spent on Tasks Performance Among Nursing Prosonnel of Anesthesia Unit, Chiang Rai Regional Hospital
ชื่อผู้วิจัยหลัก ยุพิน บุญปถัมภ์
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
ศิริพร สิงหเนตร
รวิวัลย์ วงศ์ลือเกียรติ
สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2549
บทคัดย่อ

การศึกษาปริมาณเวลาที่แท้จริงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดสรรบุคลากรพยาบาลในหน่วยงานให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมกัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาลหน่วยงานวิสัญญี โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ประชากรในการศึกษาได้แก่บุคลากรพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานวิสัญญีจำนวน 39 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยจำนวน 51 ราย ระหว่างวันที่ 27 เมษายน ถึงวันที่  3 พฤษภาคม  2549 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย คู่มือกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงตามมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลและคู่มือกิจกรรมการพยาบาลนอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง แบบบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาลที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมทางการพยาบาลโดยตรง และกิจกรรมการพยาบาลนอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรง ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของคู่มือกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงตามมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลและคู่มือกิจกรรมการพยาบาลนอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงเท่ากับ 1 ค่าความเที่ยงของการจำแนกประเภทผู้ป่วย เท่ากับ 0.91 และค่าความเที่ยงของการจับเวลากิจกรรมการพยาบาลโดยตรงเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

                ผลการศึกษาพบว่าเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงของบุคลากรพยาบาลในผู้ป่วยแต่ละประเภท พบว่าประเภทที่ 1 ผู้ป่วยสุขภาพดีไม่มีความผิดปกติทางสรีรวิทยาสุขภาพจิตดีเท่ากับ 2.48 ชั่วโมง ประเภทที่ 2 ผู้ป่วยที่พยาธิสภาพของร่างกายเล็กน้อยเท่ากับ 2.90 ชั่วโมง ประเภทที่ 3 ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพขั้นรุนแรงขึ้นและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเท่ากับ 3.37 ชั่วโมง ประเภทที่ 4 ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพขั้นรุนแรงขึ้นและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเท่ากับ 2.30 ชั่วโมง ประเภทที่ 5 ผู้ป่วยที่มีชีวิตอยู่ได้เพียง 24 ชั่วโมงหรือมีโอกาสรอดน้อยมากเท่ากับ 1.83 ชั่วโมง ส่วนเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงของบุคลากรพยาบาลใน 24 ชั่วโมง เป็นเวลาเท่ากับ 78.57 ชั่วโมง โดยเวรเช้าใช้เวลาเท่ากับ 35.42 ชั่วโมง เวรบ่ายใช้เวลาเท่ากับ 33.90 ชั่วโมง เวรดึกใช้เวลาเท่ากับ 9.25 ชั่วโมง

                เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลที่นอกเหนือจากกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงของบุคลากรพยาบาลทั้งหมดเป็นเวลาเท่ากับ 32.85 ชั่วโมง โดยเวรเช้าใช้เวลาเท่ากับ 17.91 ชั่วโมง เวรบ่ายใช้เวลาเท่ากับ 5.71 ชั่วโมงเวรดึกใช้เวลาเท่ากับ 9.23 ชั่วโมง

                อัตราส่วนร้อยละปริมาณงานทั้งหมดในเวรเช้า : เวรบ่าย : เวรดึก เท่ากับ 47.86:35.55:16.59

                ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการบริหารทรัพยากรบุคคลพยาบาล เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป

URL
วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรพยาบาลหน่วยงานวิสัญญี โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
 
    พิมพ์หน้านี้