บทคัดย่อ
|
Normal
0
false
false
false
EN-US
X-NONE
TH
MicrosoftInternetExplorer4
การศึกษาอิสระครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ดำเนินการศึกษาโดยใช้กระบวนการพัฒนาเครื่องมือ 7 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1
กำหนดสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพ
แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
โดยกำหนดจากจำนวนอุบัติการณ์ หรือสิ่งที่พยาบาลได้ปฏิบัติกับผู้ป่วยมากที่สุด
(high
volume) หรือเป็นภาวะเสี่ยงกับผู้รับบริการ
(high risk) ได้สมรรถนะที่ต้องประเมินก่อน
จำนวน 5 สมรรถนะ คือ 1)
สมรรถนะการจ่ายช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (Advanced Cardiac Life Support) ในผู้ใหญ่ 2)
สมรรถนะการประเมินและช่วยเหลือผู้ป่วย Acute MI 3) สมรรถนะการประเมิน
และช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุ 4)
สมรรถนะการประเมินและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะ shock และ 5)
สมรรถนะการประเมินและช่วยเหลือผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศรีษะ ขั้นตอนที่ 2 กำหนด คำนิยามสมรรถนะ (Competency
statements) ขั้นตอนที่ 3
กำหนดรายละเอียดที่บุคคลต้องแสดงออกถึงทักษะ ความรู้
ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล (Performance or outcome criteria) ขั้นตอนที่ 4
สร้างแบบฟอร์มในการประเมิน ขั้นตอนที่ 5
ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (content
validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
5 ท่าน ขั้นตอนที่ 6 แก้ไขปรับปรุงเครื่องมือตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 7 นำไปทดลองใช้ในสถานการณ์จำลอง
ผลจากการทดลองพบว่าเครื่องมือมีความเหมาะสม
สามารถนำไปใช้วัดหรือประเมินได้จริง
โดยพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 12 คน มีคะแนนสมรรถนะเฉลี่ยร้อยละ 84.37, 78.13,
75.00, 89.06, 92.19, 85.94, 92.19, 84.38, 90.63, 85.94, 87.50, 75.00 ตามลำดับ
ผลการศึกษาครั้งนี้ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา สามารถนำเครื่องมือวัด
หรือแบบประเมินสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพ
ไปใช้เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี
และผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้เป็นแนวทางในการนิเทศ
ติดตามผลการปฏิบัติงาน
และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางของพยาบาลวิชาชีพต่อไป
|