Normal
0
false
false
false
EN-US
X-NONE
TH
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาอิสระ
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติเพื่อการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ
ของพยาบาลวิชาชีพ ดำเนินการศึกษาโดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุให้กับพยาบาลวิชาชีพจำนวน
26 คน และประชุมระดมสมองในการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติเพื่อการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย
และกิจกรรมการจำหน่ายผู้ป่วยตามกระบวนการพยาบาลที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง
และแบบวัดทัศนคติต่อการปฏิบัติกิจกรรมการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยที่ผู้ศึกษาได้ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามของ
อุษา แววสวัสดิ์ (2543) ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุติ 6 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบทดสอบความรู้
โดยใช้สูตรคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR-20) ได้ความเที่ยง
= 0.72 ตรวจสอบความเที่ยงของแบบวัดทัศนคติต่อการปฏิบัติการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย
โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยง = 0.87 เก็บข้อมูลโดยวัดความรู้และทัศนคติก่อนและหลังการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย
การบันทึกความคิดเห็นจากการระดมสมองและนำแนวทางปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น
ไปทดลองใช้กับผู้ป่วยสูงอายุจำนวน 24 คน โดยพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติจำนวน 12 คน
เป็นเวลา 1 เดือน จากวันที่ 23 กรกฎาคม – 22 สิงหาคม 2547
หลังจากนั้นปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติ
วิเคราะห์แนวทางปฏิบัติเพื่อการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ
โดยการสรุปประเด็นและเรียบเรียงเนื้อหา
วิเคราะห์ข้อมูลด้านความรู้และทัศนคติต่อการปฏิบัติการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยด้วยค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลของการศึกษาพบว่า
1.
แนวทางการปฏิบัติเพื่อการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ
ตามกระบวนการพยาบาลมีรูปแบบ M-E-T-H-O-D อยู่ในขั้นตอนของการกำหนดแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุของโรงพยาบาลเมืองสรวง
จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1)
การเก็บรวบรวมข้อมูลและประเมินปัญหาความต้องการดูแลของผู้ป่วยและญาติ/ผู้ดูแล 2)
การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพและความต้องการภายหลังการจำหน่าย 3) การกำหนดแผนการจำหน่าย
โดยใช้รูปแบบ M-E-T-H-O-D 4) การปฏิบัติตามแผนการจำหน่าย 5)
การประเมินผล และได้สร้างแบบบันทึกหลักฐานการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ
และคู่มือการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุขึ้นมาใช้ที่ตึกผู้ป่วยใน
2.
ผลของการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติเพื่อการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุของพยาบาลวิชาชีพต่อความรู้และทัศนคติเรื่องกระบวนการวางแผนการจำหน่าย
และการปฏิบัติกิจกรรมการจำหน่ายผู้ป่วย ตามกระบวนการพยาบาล มีดังนี้
2.1
ความรู้ของพยาบาลวิชาชีพ
อยู่ในระดับดีทั้งก่อนและหลังการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติเพื่อการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ
2.2
ทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพ
อยู่ในระดับดีทั้งก่อนและหลังการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติเพื่อการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ
3.
พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าแนวทางการปฏิบัติเพื่อการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ
มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ที่ตึกผู้ป่วยใน แต่ต้องมีการปรับปรุงแบบฟอร์มบันทึกให้สะดวกต่อการใช้
และควรจะนำเสนอเป็นแนวนโยบายของหน่วยงานเพื่อถือปฏิบัติ
|