รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4069
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 13/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การสร้างแบบประเมินสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพห้องคลอด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
ชื่อเรื่องอังกฤษ The Development of Essential Competency Assessment Tools for Registered Nurses Working in the Labour Room, Kalasin Hospital, Kalasin Provinc
ชื่อผู้วิจัยหลัก บุศรินทร์ เขียนแม้น
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
บุญศรี ปราบณศักดิ์
วรรณภา นิวาสะวัต
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2550
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การศึกษาอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบประเมินสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และคู่มือการใช้แบบประเมินสมรรถนะสำหรับผู้ประเมิน (หัวหน้างานห้องคลอดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติแทน) และผู้รับการประเมิน (พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องคลอด) โดยศึกษาจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 1 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน ดำเนินการโดยวิธีการสำรวจวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของหน่วยงานนำผลที่ได้จากการสำรวจมาร่วมกันวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพโดยการจัดทำเป็นโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างแบบประเมินสมรรถนะที่ครอบคลุมการประเมินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะความชำนาญและด้านพฤติกรรมหลัก การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และทำการทดลองหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินสมรรถนะด้านทักษะความชำนาญและด้านพฤติกรรมหลักที่ห้องคลอด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีเท่าเทียมกันของการสังเกต (Inter – rater reliability) เท่ากับ 0.99 ทั้ง 4 สมรรถนะดังนี้ 1)การรับผู้คลอดใหม่ 2)การบรรเทาการเจ็บครรภ์ 3)การทำคลอดปกติ 4)การดูแลทารกแรกเกิดภายใน 2 ชั่วโมง และแบบประเมินสมรรถนะที่ได้ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีเท่าเทียมกันของการสังเกต (Inter – rater reliability) เท่ากับ 1.0 จำนวน 3 สมรรถนะดังนี้ 1)การทำคลอดรก 2)การเย็บผีเย็บ 3)การดูแลมารดาหลังคลอดภายใน 2 ชั่วโมง ส่วนแบบประเมินพฤติกรรมหลักแบบ BARS การนำความรู้เชิงประจักษ์มาใช้ในการปฏิบัติงาน ได้ค่าความเชื่อมั่นCronbach’s Alpha Coefficient และค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีเท่าเทียมกันของการสังเกต (Inter – rater reliability) เท่ากับ 1.0 แบบประเมินสมรรถนะด้านความรู้นำไปหาค่าความเชื่อมั่นที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นและโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยใช้สูตร KR – 20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70

                ผลการศึกษาในครั้งนี้ ได้แบบประเมินสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 9 สมรรถนะ ที่วัดครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะความชำนาญ และด้านพฤติกรรมหลัก ดังนี้ 1)การรับผู้คลอดใหม่ 2)การบรรเทาการเจ็บครรภ์ 3)การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน 4)การทำคลอดปกติ 5)การทำคลอดรก 6)การเย็บฝีเย็บ 7)การดูแลทารกแรกเกิด ภายใน 2 ชั่วโมง 8)การดูแลมารดาหลังคลอด ภายใน 2 ชั่วโมง 9)การนำความรู้เชิงประจักษ์มาใช้ในการปฏิบัติงาน และได้คู่มือการใช้แบบประเมินสมรรถนะสำหรับผู้ประเมินและผู้ที่ได้รับการประเมิน

                ข้อเสนอแนะจากการศึกษา โรงพยาบาลที่มีบริบทใกล้เคียงกับโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ สามารถที่จะนำแบบประเมินสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดและคู่มือการใช้แบบประเมินสมรรถนะไปใช้ในการประเมินระดับสมรรถนะความสามารถของพยาบาลวิชาชีพได้ทั้งในการปฐมนิเทศ (Orientation) เจ้าหน้าที่ใหม่ และในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี (Annual evaluation) ผลจากการประเมินสมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำไปวางแผนเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลรายบุคคล และเป็นแนวทางในการนิเทศ ติดตามปฏิบัติงานของบุคลากรได้ต่อไป

 

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบประเมินสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และคู่มือการใช้แบบประเมินสมรรถนะ
 
    พิมพ์หน้านี้