รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4076
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 13/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล : กลยุทธ์ในการพัฒนาการนิเทศการพยาบาล
ชื่อเรื่องอังกฤษ Nursing Rounds : A Strategy for Nursing Supervision Development
ชื่อผู้วิจัยหลัก กานดา ม่วงเพ็ง
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
บุญศรี ปราบณศักดิ์
วรรณภา นิวาสะวัต
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2544
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาลสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล และศึกษาความพึงพอใจต่อการปฏิบัติการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2544 ประชากรที่ศึกษาคือ หัวหน้าหอผู้ป่วย 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 6 คน และพยาบาลเทคนิค 4 คน รวมทั้งสิ้น 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แนวคำถามแบบมีโครงสร้างที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม และแบบวัดความพึงพอใจต่อการปฏิบัติการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล วิธีดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือขั้นที่ 1 ค้นหาปัญหาโดยการสนทนากลุ่มร่วมกับการสังเกต ขั้นที่ 2 กำหนดแนวทางการปฏิบัติ และพัฒนาการเยี่ยมตรวจ นำไปทดลองปฏิบัติ และพัฒนารูปแบบการเยี่ยมตรวจ และขั้นที่ 3 ประเมินผลความพึงพอใจต่อการปฏิบัติการเยี่ยมตรวจ วิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่มและการสังเกต โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS/FW

                ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1.       ผู้ปฏิบัติการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล พบปัญหาของการเยี่ยมตรวจใน 3 บทบาท ได้แก่ บทบาทผู้นิเทศ บทบาทผู้นำ และบทบาทผู้ร่วมการเยี่ยมตรวจ

บทบาทผู้นิเทศ พบปัญหาเกี่ยวกับแนวทางในการนิเทศ การมอบหมายงาน ภาระงานที่รับผิดชอบมีมาก อัตรากำลังมีน้อย ขาดการกระตุ้นให้มีการปฏิบัติการเยี่ยมตรวจตามวันเวลาที่กำหนดไว้ และขาดการประเมินผล

บทบาทผู้นำการเยี่ยมตรวจ พบปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าตำรา เอกสารต่างๆ การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมการเยี่ยมตรวจ ทักษะในการเลือกผู้ป่วย การเขียนรายงาน และขาดการประเมินผล

บทบาทผู้ร่วมการเยี่ยมตรวจ พบปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า ตำรา เอกสารต่างๆ การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมการเยี่ยมตรวจ และขาดการประเมินผล

2.       ผู้ปฏิบัติการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล ในด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบในงาน ความสำเร็จในงาน และความก้าวหน้าในงาน อยู่ในระดับมาก

 

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาของการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาลสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล และศึกษาความพึงพอใจต่อการปฏิบัติการเยี่ยมตรวจทางการพยาบาล ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม
 
    พิมพ์หน้านี้