รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 5070
ผู้กรอกข้อมูล กุลวดี อภิชาติบุตร
วันที่กรอกข้อมูล 13/9/2553
ชื่อเรื่องไทย ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่องอังกฤษ Professional Nurse Image as Perceived by Professional Nurses in Community Hospitals, Uttaradit Province
ชื่อผู้วิจัยหลัก มณฑา ภู่ห้อย
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์
อรอนงค์ วิชัยคำ
สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   
ปี 2550
บทคัดย่อ

ภาพลักษณ์ของพยาบาลจากมุมมองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนคือสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงสถานะภาพที่เกิดขึ้นและการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนส่งผลให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าและปฏิบัติงานด้วยความภาคภูมิใจ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบพรรณนาเชิงเปรียบเทียบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เกิดขึ้นจริงและในอุดมคติ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวนทั้งสิ้น  184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เกิดขึ้นจริงและในอุดมคติตามแนวคิดภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพของสตราเซน (Strasen,1992) ที่พัฒนาขึ้นโดยเรมวล นันท์ศุภวัฒน์ และอรอนงค์    วิชัยคำ (2549) แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เกิดขึ้นจริงและในอุดมคติเท่ากับ  .94 และ  .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า  t – test

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ รับรู้ถึงภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพคุณลักษณะที่เกิดขึ้นจริง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้านที่อยู่ในระดับมากคือด้านพื้นฐานการศึกษาและความรู้ ด้านการปฏิบัติระดับวิชาชีพ ด้านการสนับสนุนวิชาชีพ และด้านรูปร่างและบุคลิกส่วนบุคคลและรายด้านที่อยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ด้านค่าตอบแทน ด้านการติดต่อสื่อสารเชิงวิชาชีพและด้านการควบคุมตนเอง สำหรับภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพตามคุณลักษณะในอุดมคติ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ รับรู้ถึงภาพลักษณ์นี้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีรายด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือด้านพื้นฐานการศึกษาและความรู้ด้านการปฏิบัติระดับวิชาชีพ ด้านค่าตอบแทน ด้านการสนับสนุนวิชาชีพและด้านรูปร่างและบุคลิกส่วนบุคคล ยกเว้นด้านการติดต่อสื่อสารเชิงวิชาชีพ ด้านการควบคุมตนเองอยู่ในระดับมาก  และเมื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เกิดขึ้นจริงและในอุดมคติมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.001

            ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้รับบริหารการพยาบาลและองค์กรวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนัก และร่วมมือกันหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพดียิ่งขึ้น

 

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาพลักษณ์พยาบาลเชิงวิชาชีพที่เกิดขึ้นจริงและในอุดมคติ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์
 
    พิมพ์หน้านี้