รายละเอียดข้อมูลวิจัย

ลำดับที่ 4082
ผู้กรอกข้อมูล อรอนงค์ วิชัยคำ
วันที่กรอกข้อมูล 14/9/2553
ชื่อเรื่องไทย การพัฒนากระบวนการนิเทศการบันทึกการพยาบาลของโรงพยาบาลโนนสัง
ชื่อเรื่องอังกฤษ The Supervision Process Development of Nurses’ Note Records Documented by Registers Nurses in Nonsang Hospital
ชื่อผู้วิจัยหลัก ดอกเอื้อง แสนสีระ
   
ชื่อผู้วิจัยร่วม
ผู้ร่วมวิจัย
วิภาพร วรหาญ
สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   
แหล่งทุน
ไม่พบข้อมูล
   
ประเภทของผลงาน สาระนิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ(IS)
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่เก็บข้อมูลโปรดระบุ(ชื่อ)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
   
ปี 2551
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศการบันทึกการพยาบาลของโรงพยาบาลโนนสัง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพ 20 คน เป็นผู้นิเทศ 5 คน พยาบาลประจำการ 15 คน และแบบบันทึกการพยาบาล ก่อนการพัฒนา จำนวน 56 ฉบับ และหลังการพัฒนา  จำนวน 51 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการบันทึกการพยาบาล แบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศการบันทึกการพยายบาลตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ และแบบตรวจสอบคุณภาพการบันทึกการพยาบาล กระบวนการพัฒนาใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพ P-D-C-A Cycle โดยการศึกษาสภาพการณ์และปัญหาการนิเทศโดยใช้กระบวนการ A-I-C กำหนดกระบวนการนิเทศ นำกระบวนการนิเทศไปทดลองใช้ และประเมินผลลัพธ์ภายหลังการดำเนินการ โดยเปรียบเทียบความรู้ของพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (Paired t-test)

ผลการศึกษา พบว่า

1.       กระบวนการนิเทศการบันทึกการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1)การวางแผนการนิเทศ โดยการศึกษาสภาพการณ์และปัญหาการนิเทศและร่วมกันกำหนดกิจกรรมการนิเทศ  2)การปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศ ประกอบด้วย กิจกรรม Pre-post conference, Nursing round, Conference case และการสุ่มประเมินคุณภาพการบันทึกการพยาบาลและ  3)การประเมินผลการนิเทศ โดยการประชุมสรุปในทีมผู้นิเทศทุกสัปดาห์และ Feedback ให้พยาบาลประจำการทราบ

                2.     ผลลัพธ์หลังการดำเนินการตามกระบวนการนิเทศการบันทึกการพยาบาล พบว่า

2.1 ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกการพยาบาลของพยาบาลประจำการหลังการพัฒนา (̅X = 3.24, S.D = .68) เพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนา (̅X = 2.84, S.D = .74) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -3.63)

2.2 การปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศการบันทึกการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการหลังการพัฒนา (̅X = 3.24, S.D = .68) เพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนา (̅X = 2.84, S.D = .74) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=3.63)

2.3 คุณภาพการบันทึกการพยาบาลหลังการพัฒนา (̅X = 72.83, S.D = 6.61) เพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนา (̅X = 64.73, S.D = 5.68) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -6.49)

                จากผลการศึกษา สามารถพัฒนากระบวนการนิเทศการบันทึกการพยาบาล รวมทั้งใช้คู่มือการนิเทศการบันทึกการพยาบาล รวมทั้งใช้คู่มือการนิเทศการบันทึกการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการพัฒนาความรู้และทักษะของพยาบาลประจำการในการบันทึกการพยาบาล ส่งผลให้คุณภาพการบันทึกการพยาบาลเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงถึงคุณภาพการพยาบาลที่ดีขึ้นด้วย

URL
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศการบันทึกการพยาบาลของโรงพยาบาลโนนสัง
 
    พิมพ์หน้านี้